ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้แรงจูงใจ และทักษะในการคุมกำเนิดกับพฤติกรรม การคุมกเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน

Main Article Content

เปรมยุดา นาครัตน์
รัตน์ศิริ ทาโต

Abstract

การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ในการคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ และการสนับสนุนของคู่นอนในการคุมกำเนิด และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด กับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน และศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่น ประชากร คือ นักเรียนหญิงอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือน ที่ผ่านมา และกำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอาชีวศึกษา ใน 3 จังหวัดของเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 259 คน เลือกด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ในการคุมกำเนิด แบบสอบถามทัศนคติต่อการคุมกำเนิดการรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด แบบสอบถามการสนับสนุนของคู่นอนใน การคุมกำเนิด และแบบสอบถามพฤติกรรมการคุมกำเนิด เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0.67, 0.87, 0.86, 0.88, และ0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ในการคุมกำเนิด (r = 0.38) ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด (r = 0.45) การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ (r = 0.39) การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด (r = 0.43) และการสนับสนุนของคู่นอนในการคุมกำเนิด (r = 0.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิด การรับรู้ผลเสียของการตั้งครรภ์ ทัศนคติต่อการคุมกำเนิด และความรู้ในการคุมกำเนิด สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียน อาชีวศึกษาหญิงได้โดยอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 34.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนการสนับสนุนของคู่นอนในการคุมกำเนิดไม่สามารถร่วมทำนายได้

 

Relationships between information, motivation, contraceptive behavioral skill and contraceptive use of Vocational female students in the upper south of Thailand.

Narkarat, P., & Thato, R.

The purposes of this correlational predictive design were to examine the correlation between information about contraception, attitude toward contraception, perceived negative consequences of pregnancy, partner support regarding contraception, self efficacy toward contraception and contraceptive use and to identify predictive factors of contraceptive use. Two hundred and fifty nine vocational female students in the upper south of Thailand were selected using the multistage random sampling. Data were collected using a test of an information about contraception and the questionnaires regarding to attitude toward contraception, perception of negative consequences of pregnancy, self efficacy toward contraception, partner support regarding contraception and contraceptive use. The questionnaires were tested for their content validity by a group of experts. Their Cronbach’s alpha coefficients were 0.67, 0.87, 0.86, 0.88, and 0.88, respectively. Data was analyzed using bivariate correlation and stepwise multiple regression analysis. The results revealed as follows.

1. There were significantly positive relationships between contraceptive use among vocational female students and information about contraception (r = 0.38), attitude toward contraception (r = 0.45), perception of negative consequences of pregnancy (r = 0.39), self-efficacy toward contraception (r = 0.43) and partner support regarding contraception (r=0.29) at p < .05.

2. Self efficacy toward contraception, perception of negative consequences of pregnancy, attitude toward contraception and information about contraception could predict the contraceptive use. These predictors accounted for 34.4 % of total variance at p < .05. Partner support regarding contraception could not predict the contraceptive use.

Article Details

How to Cite
นาครัตน์ เ., & ทาโต ร. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้แรงจูงใจ และทักษะในการคุมกำเนิดกับพฤติกรรม การคุมกเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน. Thai Journal of Nursing, 62(3), 29–36. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47410
Section
Research Article