ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่มวนเอง ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

มัลลิกา มาตระกูล
สุรินธร กลัมพากร
อาภาพร เผ่าวัฒนา

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่มวนเองของประชาชนในจังหวัดเชียงรายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่มวนเอง จำนวน 411 ราย เลือกโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย 5 ส่วนได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่มวนเอง เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่มวนเอง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สัมประสิทธ์ิ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ANOVA t-test และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่มวนเองเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม การใช้วิธีการเลิกสูบบุหรี่โดยการเล่นกีฬา/ทำสมาธิ/เข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง จำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน และระดับการศึกษามีความสามารถในการทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ มวนเองของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 31.7 (p-value < .05)

ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้คือ ควรมีการส่งเสริมให้มีระดับความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่มวนเองที่สูงขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ที่มีการศึกษาน้อยโดยเพิ่มศักยภาพในการเผชิญกับอุปสรรค และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมร่วมกับการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ ควรมีการ บังคับใช้มาตรการในการควบคุมการบริโภคยาสูบกับบุหรี่มวนเองอย่างเคร่งครัด

 

Factors predicting intention to quit of hand-rolled cigarettes smokers in Chiangrai province

Matrakul, M., Kalampakorn, S. & Powwattana, A.

The purpose of this study was to examine the intention to quit in hand-rolled cigarette smokers, and related factors. The sample consisted of 411 hand-rolled cigarette smokers residing in Chiangrai province, selected by stratified random sampling. The instrument used in this study was the interviewed questionnaire consisted of personal factors, intention to quit of hand-rolled cigarettes, attitude toward quitting of hand-rolled cigarettes, subjective norm, and perceived behavioral control. Data were collected by face to face interviews. Data were analyzed using descriptive statistic, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient, ANOVA, t-test, and Stepwise Multiple Regression analysis.

The result of this study indicated that sample had the intention to quit hand-rolled cigarettes at a moderate level (2.6 from 5). Stepwise multiple regression analysis showed that perceived behavioral control, cessation methods, subjective norms, number of cigarettes smoked per day, and education could explain 31.7 percent of the intention to quit hand-rolled cigarettes (p-value < .05).

It is suggested that, to support the intention to quit hand-rolled cigarettes, cessation intervention should focus on subjective norms, perceived behavioral control. Smokers should also be informed about the harm from hand-rolled cigarettes to health, especially for those with low education. The government organizations responsible for tobacco control policy should focus on these suggestions.

Article Details

How to Cite
มาตระกูล ม., กลัมพากร ส., & เผ่าวัฒนา อ. (2016). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่มวนเอง ในจังหวัดเชียงราย. Thai Journal of Nursing, 61(1), 10–20. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47476
Section
Research Article