ผลการเรียนการสอนวิชาบุหรี่กับสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของนิสิต

Main Article Content

วันเพ็ญ รักษ์ปวงชน
กัลยา วิริยะ
จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธ์ิ
ลาวัณย์ รัตนเสถียร

Abstract

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญยิ่งของการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิดและความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ดำเนินการเพื่อควบคุมและป้องกันผลร้ายจากการสูบบุหรี่ ในการศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการเรียนการสอนวิชา บุหรี่กับสุขภาพทั้งด้านความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของ นิสิตทันตแพทย์ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 4 ชุด สอบถามจากนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 55 คน แบบสอบถาม ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านยาสูบและสุขภาพจำนวน 9 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยการทดสอบกับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจำนวน 55 คน วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยร้อยละ และ t-test ผลการศึกษาพบว่าความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และสุขภาพก่อนและหลังการเรียนการสอนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ส่วนทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังการเรียนการสอนไม่มีความแตกต่างทาง สถิติ จะเห็นได้ว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเสริมสร้าง ทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่

 

The Impact of Teaching and Learning about Tobacco and Health on Knowledge, Attitude, and Intention of Students towards Non-smoking.

Rakpuangchon W, Wiriya K, Rerkluenrit J, and Ratanasathien L

Smoking plays an important role as one of the cause of chronic illnesses and congenital abnormalities of the fetus. Thus, the World Health Organization collaborates with other countries to control and prevent the adverse effects from smoking. The purpose of this quasi-experimental study is to examine the impact of teaching and learning about "Tobacco and Health", a program on knowledge, attitude, and intension towards non-smoking of individuals. This study is conducted for dental students, Srinakharinwirot University. A pre-post, one group design was implemented for 55 first year dental students. Four questionnaires were used for data collection. Content validity of each questionnaire was judged by nine experts in tobacco and health care sector. To assure reliability of the questionnaires and feasibility of the research procedure, a pilot study was conducted using questionnaires on 55 first year nursing students, Srinakharinwirot University. Data were analysed by using percentage and t-test. The findings revealed a significant difference in knowledge between the pre-test and post-test. There were no significant difference in attitude and intention of students towards non-smoking . It can be seen that teaching and learning didn't enough to promote attitude and intention of students towards non-smoking.

Article Details

How to Cite
รักษ์ปวงชน ว., วิริยะ ก., ฤกษ์เลื่อนฤทธ์ิ จ., & รัตนเสถียร ล. (2016). ผลการเรียนการสอนวิชาบุหรี่กับสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการไม่สูบบุหรี่ของนิสิต. Thai Journal of Nursing, 61(1), 21–30. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47478
Section
Research Article