ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัวผู้สูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พัชรี เกษรบุญนาค
อัปสร สุริยะพันธ์
ศธัญญา ธิติศักดื์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัว ผู้สูบบุหรี่ 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของ สมาชิกครอบครัวผู้สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิก ครอบครัวผู้สูบบุหรี่ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสามพราน จ.นครปฐม จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลแบบเจาะจง โดยใช้แบบ สอบถามมาตราประมาณค่า 4 ระดับ แบบสอบถามมี 3 ส่วน ตามโมเดลส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์พหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัว ผู้สูบ อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.65, S.D. = 0.58) การรับรู้ประโยชน์ของการช่วยเลิกบุหรี่และความตั้งใจ ในการช่วยเลิกบุหรี่อยู่ในระดับสูง (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.53, 3.03,S.D. = 0.34, 0.39) ตามลำดับ การรับรู้อุปสรรคในการช่วย เลิกบุหรี่และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการช่วยเลิกบุหรี่ อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.89, 2.92, S.D. = 0.51, 0.43) ตามลำดับ

2. การรับรู้ประโยชน์ของการช่วยเลิกบุหรี่และ ความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัวผู้สูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมช่วยเลิกบุหรี่ r=.151, .280 p < .05 และ p < .01 ตามลำดับ

3. การรับรู้ประโยชน์ของการช่วยเลิกบุหรี่และ ความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัว ผู้สูบบุหรี่ สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมช่วยเลิกบุหรี่ได้ ร้อยละ 13.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 และ .01 ตามลำดับ

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า การรับรู้ประโยชน์ของการ ช่วยเลิกบุหรี่ และความตั้งใจที่จะช่วยให้บุคคลในครอบครัว เลิกบุหรี่ เป็นสิ่งสำคัญที่จะพยาบาลควรตระหนักในการ ช่วยเหลือให้สมาชิกครอบครัวแสดงพฤติกรรมช่วยเลิก บุหรี่ได้สำเร็จ

 

Factors predict Smoking cessation behavior in a family of smoker attending in Antenatal Clinic of Sampran Hospita

Gasornboonnak, P., Suriyapan, A., Thitisak, S.

The purposes of this research are to study 1) Smoking cessation behavior of smokers' members 2) Factors predicting smoking cessation behaviors. This study was conducted through clients' family members about 100 persons from ANC in Sampran hospital in Nakhon Prathom province by purposive sampling. Data was collected by using 4 scale questionnaire for smokers' family members. The questionnaire was built into 3 parts which were from review literatures and Pender's model. Analyses by descriptive, Pearson Product Moment Correlation and Multiple linear Regression.

The results were that:

1. Smoking cessation of smokers' members behavior was medium range (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.65, S.D. = 0.58), acknowledgement of benefits and intension to stop smoking were in a high range (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.53, 3.03, S.D. = 0.34, 0.39), respectively. acknowledgement of obstacles, and capabilities to stop smoking were in medium range. (\inline \dpi{80} \bar{X} = 2.89, 2.92, S.D. = 0.51, 0.43), respectively.

2. Correlation between perceived benefits and intention of smoking cessation assistance and smoking cessation behavior was positive significant at p-value < .05, .01 (r =.151, .280), respectively.

3. Perceived benefits of smoking cessation and intension of smoking cessation assistance can predict smoking cessation behaviors at 13.4 percent (p < .05 and .01, respectively).

The researcher suggests that perceived benefits of smoking cessation and intension of smoking to help people from smoking cessation behaviors in the family. It is important that nurses should be aware of their behavior helped family members smoking cessation successfully.

Article Details

How to Cite
เกษรบุญนาค พ., สุริยะพันธ์ อ., & ธิติศักดื์ ศ. (2016). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของสมาชิกครอบครัวผู้สูบบุหรี่ ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม. Thai Journal of Nursing, 61(1), 31–41. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47480
Section
Research Article