รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้: รูปแบบการเรียนการสอนพาร์เซ่

Main Article Content

ปุณยนุช พิมใจใส

Abstract

รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้าง ความรู้ "PARCE Model" นี้ได้พัฒนาขึ้นจากการวิจัยและ พัฒนาร่วมกับการออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบตาม แนวคิดใน ADDIE Model ของ Kevin Kruse (2008) และ หลักการออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบของ Joyce, Weil, และ Calhoun (2009) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ ที่มีความสัมพันธ์กันตลอดทั้งระบบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียน การสอนไปใช้ และหลักการของทฤษฎีการสร้างความรู้ คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากผู้เรียน แสวงหาและสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา สังเคราะห์ แก้ปัญหาจาก กิจกรรมการเรียนรู้ และสะท้อนความคิดในการแก้ปัญหา อย่างสมเหตุสมผล นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือ การสร้างความรู้ใหม่ ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้คอยกระตุ้นให้ ผู้เรียนอยากรู้ แสวงหาคำตอบ และเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดหาแหล่งความรู้และ เป็นแหล่งความรู้แก่ผู้เรียน ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ข้อมูล ย้อนกลับ กระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติ แก้ปัญหา และหาข้อสรุป ด้วยวิธีการที่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ และต่อเติม เสริมแต่งข้อสรุปของผู้เรียนให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งให้กำลังใจ โดยการเสริมแรงเมื่อเห็นว่าผู้เรียนดำเนินกิจกรรมได้ถูกทาง และมีการพัฒนาผลงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

An instructional model based on Constructivist Theory: PARCE Model.

Phimchaisai, P. 

The instructional model called "PARCE Model" is based on Constructivist Theory. The model was developed by the Research and Development , the system designed approach based on ADDIE Model by Kevin Kruse (2008). and the instructional design systems of Joyce, Weil, and Calhoun (2009) which comprised related factors including concepts, goals, syntax, contents, instructional design, nurturing, social system, supported system, and conditions of application. The model is also based on the Constructivist theory which focused on student-centered approach. The students inquired and constructed their knowledge by self-directed learning. The learning activities allow the students to analyze, synthesize, solve the problems and reflect rationally. The teachers' role in case studies, situational learning, problem based learning, action learning, and experiential learning, is to motivate and facilitate students to acquire the answers to be self-directed learning. The instructor take the role of a facilitator in providing the resources, giving advises, giving feedback and motivating the students to learn by doing, solving problems, and improving the conclusions. Furthermore, to enhance more efficient learning ability of a student, the teacher should embellish the final conclusion and reinforce for students ' good work.

Article Details

How to Cite
พิมใจใส ป. (2016). รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้: รูปแบบการเรียนการสอนพาร์เซ่. Thai Journal of Nursing, 61(4), 49–56. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47617
Section
Academic Article