ผลของการใช้เบาะโฟมรองนั่ง และห่วงผ้าห่มรองนั่งต่อความปวดแผลฝีเย็บ และความพึงพอใจของสตรีหลังคลอด ในโรงพยาบาลรามาธิบดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความปวดแผลฝีเย็บ และความพึงพอใจในการใช้เบาะโฟมรองนั่ง และห่วงผ้าห่มรองนั่งในสตรีหลังคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีหลังคลอดที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 30 ราย เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินความปวดแผลฝีเย็บและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้เบาะโฟมรองนั่งและห่วงผ้าห่มรองนั่ง หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามความพึงพอใจได้เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า สตรีหลังคลอดที่ใช้เบาะโฟมรองนั่งมีความปวดแผลฝีเย็บไม่แตกต่างจากเมื่อใช้ห่วงผ้าห่มรองนั่ง แต่ภายหลังการใช้เบาะโฟมรองนั่ง หรือห่วงผ้าห่มรองนั่ง สตรีหลังคลอดมีความปวดแผลฝีเย็บลดลงจากก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สตรีหลังคลอดมีความพึงพอใจต่อการใช้เบาะ โฟมรองนั่งโดยรวมและในด้านการออกแบบ และด้านความสะดวกต่อการใช้งาน มากกว่าการใช้ห่วงผ้าห่มรองนั่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
Article Details
References
เจ็บปวดในผู้ป่วยที่มีแผลผ่าตัดริดสีดวงทวารหรือผู้ป่วยที่มีแผลฝีเย็บ. วารสารโรงพยาบาลอุตรดิตถ์,
26(2), 149-157.
Achariyapota, V., & Titapant, V. (2008). Relieving perineal pain after perineorrhaphy by diclofenac
rectal suppositories: A randomized double-blinded placebo controlled trial. Medical Journal of the
Medical Association of Thailand, 91(6), 799-804.
Chou, D., Abalos, E., Gyte, G. M. L., & Gulmezoglu, A. M., (2010). Paracetamol /acetaminophen
(single administration) for perineal pain in the early postpartum period. Cochrane Database of
Systematic Reviews. Retrieved May 2, 2015, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/
14651858. CD008407.pub2/pdf/standard
Cohen, J. Z. (1998). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ:
Lawrence Erlbaum Associates.
Hedayati, H., Parsons, J., & Crowther, C. (2003). Rectal analgesia for pain from perineal trauma
following childbirth. Cochrane Database of Systematic Reviews. Retrieved May 2, 2015, from
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/14651858.CD003931/pdf/standard.
Laws, P., & Sullivan, E. A. (2009). Australia's mothers and babies 2007. Sydney: Australian Institute
of Health and Welfare National Perinatal Statistic Unit.
Leeman, L. M., Roger, R. G., Greulich, L. L., & Albers, L. L. (2007). Do unsutured second-degree
perineal lacerations affect postpartum functional outcomes? Journal of the American Board of
Family Medicine, 20(5), 451–457.
Macarthur, A. J., & Macarthur, C. (2004). Incidence, severity, and determinants of perineal pain after
vaginal delivery: A prospective cohort study. American Journal of Obstetrics & Gynecology,
191(4), 1199-1204.
Rogers, R. G., Borders, N., Leeman, L. M., & Albers, L. L. (2009). Does spontaneous genital tract
trauma impact postpartum sexual function? Journal of Midwifery and Women's Health, 54(2),
98–103.