ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อุบลรัตน์ มังสระคู
วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล
มุกดา หนุ่ยศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ระหว่างก่อนและหลังทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 66 คน ที่ไม่มีโรคอื่นร่วม เพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลช้างเผือกและตำบลน้ำคำซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา  แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ  เครื่องมือทดลองเป็นโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีดของกรีนและครูเตอร์ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.89 และเครื่องมือวัดความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที วิลคอกซันซายน์แรงค์ และแมนวิทย์นีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และมีพฤติกรรมสุขภาพรายด้านทุกด้าน ยกเว้นด้านการรับประทานยา สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  กลุ่มเปรียบเทียบมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง (p > .05) และ (2) หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มเปรียบเทียบมีความดันโลหิตซีสโตลิกและไดแอสโตลิกไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง (p > .05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บประจำปีปฏิทิน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก http://www.thaincd.com/ 2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1-020

ชลการ ชายกุล. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2556). แบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ (PRECEDE – PROCEED Model). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/115416

พนิตนันท์ วงศ์สุวรรณ, วีณา เที่ยงธรรม, อาภาพร เผ่าวัฒนา, และสุธรรม นันทมงคลชัย. (2557). การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มผู้สูงอายุเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3), 145-60.

รัชต์วรรณ ตู้แก้ว, และจุรีภรณ์ เจริญพงศ์. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก http://202.28.117.115/files/gs28_attachment_files/files/463/HS_018.pdf?1402718961

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำพรินทร์. (2559). ทะเบียนผู้รับบริการคลินิกโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำพรินทร์ ปีงบประมาณ 2559. ร้อยเอ็ด: ผู้แต่ง

วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2559). ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. ใน ประมวลสาระชุดวิชา นโยบายและระบบสุขภาพ ภาวะผู้นำ แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาลและบทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1,น. 12-1 – 12-62). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย เอกพลากร. (บก.). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2559). รายงานมาตรฐานกลางจาก 43 แฟ้ม. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2559, จาก https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Gagné, R. M., & Briggs, L. J. (1974). Principle of instructional design. New York: Holt, Rinehart and
Winston.

Glanz, K., Rimer, B. K., & Viswanath, K. (2008). Health behavior and health education: Theory, research and practice (4th ed.). San Francisco: Jossey-Bass. [online]. Retrieved December 20, 2018, from http://fhc.sums.ac.ir/files/salamat/health_education.pdf

Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach (4th ed.).
New York: McGraw-Hill.