โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้กลับมาสูบซ้ำของทหารกองประจำการ ในค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุกัญญา คำก้อน
แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ
สุรินธร กลัมพากร
สุคนธา ศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้กลับมาสูบซ้ำในทหารกองประจำการ ค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 คน เป็นทหารกองประจำการ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรีที่เคยเลิกสูบบุหรี่แล้วกลับมาสูบซ้ำ อยู่ในระยะชั่งใจตามทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ1 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมใด ๆ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถาม ก่อนและ หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi square test, Fisher’s exact test,  One-way repeated measures ANOVA, Paired  t-test  และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลิกบุหรี่ดีขึ้น และระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจลดลงกว่าก่อนการทดลอง (p < .001) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (p  > .05) พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองและเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) ความรุนแรงของการติดนิโคตินลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  กลุ่มทดลองเลิกสูบบุหรี่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

Article Details

How to Cite
คำก้อน ส. ., จิระพงษ์สุวรรณ แ., กลัมพากร ส. ., & ศิริ ส. . . (2020). โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้กลับมาสูบซ้ำของทหารกองประจำการ ในค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล, 69(1), 44–63. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/240803
บท
บทความวิจัย

References

เบญจมาส บุณยะวัน. (2555). ประสิทธิผลของการประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ในการเลิกสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ปิยมาศ สวนกูล. (2552). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่

ของทหารเกณฑ์ในค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้

ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ผ่องศรี มรกต. (2559). การบำบัดทางเลือกเพื่อช่วยเลิกบุหรี่วิถีไทย(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:

อัพทรูยู ครีเอทนิว.

ภัทราวุธ โชคประกอบกิจ. (2558). ความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่

เลิกบุหรี่สำเร็จและไม่สำเร็จ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล,

กรุงเทพมหานคร.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2559). การเสียชีวิตของคนไทยต่อปีจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่.

สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก https://www.ashthailand.or.th

ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบ

ของประเทศไทย พ.ศ. 2561 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สมพงษ์ ลือกลาง. (2556). การพัฒนารูปแบบการช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่ในหน่วยบริการ

ปฐมภูมิ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

สุนิดา ปรีชาวงษ์. (2556). ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในประชากรวัยผู้ใหญ่การทบทวนวรรณกรรม

อย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25, 16-30.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2556). การสร้าง

เสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์ แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพมหานคร: คลังนานาวิทยา.

อารัมภ์พร เอี่ยมวุฒิ. (บก.). (2559). บุหรี่ภัยร้ายทำลายคุณ. กรุงเทพมหานคร: แสงเทียนการพิมพ์.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Chan, S. S., Leung, D. Y., Wong, D. C., Lau, C. P., Wong, V. T., & Lam, T. H. (2012). A randomized controlled trial

of stage-matched intervention for smoking cessation in cardiac out-patients. Addiction, 107(4), 829-837.

coVita. (2011). piCO+ Smokerlyzer: operating manual. Haddonfield, NJ: Author.

Heatherton, T. F., Kozlowski, L. T., Frecker, R. C., & Fagerstrom, K. O. (1991). The

Fagerstrom Test for nicotine dependence: A revision of the Fagerstrom

Tolerance Questionnaire. British Journal of Addiction, 86, 1119-1127.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2003). Nursing research: Principles and methods (7th. ed.).

Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Prochaska, J. O., Redding, C. A., & Evers, K. E. (2015). The Transtheoretical model and

stage of change. In K. Glanz, B. K. Rimer, & K. Viswanath. (Eds.). Health

behavior: Theory, research, and practice (5th .ed., pp. 148-171). San Francisco,

CA: Jossey-Bass.