ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาสุขภาวะในเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ส่องแสง
ผ่องศรี ศรีมรกต
สมนึก อ้วนศรี
ธันวา ชมชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 33 คนเลือกแบบเจาะจง เป็นเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาสุขภาวะ และแบบประเมินสุขภาวะเด็กและเยาวชนซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน หาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 1.00  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที  ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาสุขภาวะ เยาวชนมีสุขภาวะเพิ่มมากขึ้น ในด้านการบริโภคอาหารพบว่า เยาวชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและความชอบในการบริโภคอาหารที่เหมาะสม รวมถึงการตระหนักรู้ในการบริโภคอาหารต่อพฤติกรรมสุขภาพที่สูงขึ้น ด้านการออกกำลังกาย สมรรถภาพของร่างกายสูงขึ้น ด้านอารมณ์ เยาวชนมีความทนทานทางอารมณ์และการตระหนักรู้ความเครียดเพิ่มมากขึ้น ด้านการสูบบุหรี่พบว่า เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่เพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จในระยะ 3 เดือนและ 6 เดือน คือ 93.9 และ75.8 ตามลำดับ  


 

Article Details

How to Cite
ส่องแสง ณ. ., ศรีมรกต ผ., อ้วนศรี ส., & ชมชื่น ธ. (2023). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาสุขภาวะในเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนพระนครศรีอยุธยา. วารสารพยาบาล, 72(2), 50–59. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/259441
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ.2561. https://shorturl.asia/rHopx

กระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (22 เมษายน 2566). คู่มือการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. สำหรับแกนนำสุขภาพ. http://www.hed.go.th/linkHed/461

จิราภรณ์ เรืองยิ่ง, สุจิตรา จรจิตร, และ กานดา จันทร์แย้ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา : การสังเคราะห์องค์ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 250–268.

พวงทิพย์ สังเกตุใจ. (2563). การศึกษาประสิทธิผลการจัดการความเครียดด้วยกิจกรรมศิลปะและดนตรีบําบัดในผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). โรงพยาบาลแม่ฮ่องสอน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

พิมพ์ลภัส บัวครื้น และ ยมฤดี เธียรโชติ. (2561). ประสิทธิผลของการใช้การบำบัดแบบผสมผสานเพื่อหยุดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ที่เข้ามารับการบำบัดที่คลินิกอดบุหรี่โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. ใน ผ่องศรี ศรีมรกต (บ.ก.), รวมเล่มงานวิจัย Routine to research พยาบาลไทยกับการควบคุมยาสูบ (น.153-163). อัพทรูยู ครีเอทนิว.

ลักษมล ลักษณะวิมล, เรวดี เพชรศิราสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร, และ นัยนา หนูนิล. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล, 69(1), 1–9.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2562). ผลของโปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 66–74.

ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). การสำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ปี 2559 เรียนรู้จากการเล่น. กรีน แอปเปิ้ล กราฟฟิก พริ้นติ้ง.

สมประสงค์ มณฑลผลิน, สมบัติ อ่อนศิริ, อัจรินะ เอนก, ณัฐกฤติา ศิริโสภณ, และ อลิสา นิติธรรม. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและพัฒนาสมรรถภาพทางกายสำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนราชินีบน. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 198–205.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (10 ธันวาคม 2563). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564. https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/report/img/thaihealthwatch/thaihealthwatch2021.pdf

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (11 พฤษภาคม 2565). แบบประเมินสุขภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/SelfEvaluationHealth.doc

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561ก). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.

พิมพ์ดีการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561ข). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ.2560.

https://shorturl.asia/GbNOm

อนาวิน ภัทรภาคิดวรกุล. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารในนักเรียนชั้น ประถมศึกษาในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(2), 42–49.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W. H. Freeman.