ผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

สุกฤตา ตะการีย์
พิชาภรณ์ จันทนกุล
วัฒนีย์ ปานจินดา
ศิริพร สามสี

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน เลือกแบบเจาะจง สุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ประกอบด้วยความรู้พิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า  ทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้า  และการรับรู้ความสามารถของตนเอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ และการรับรู้ความสามารถของตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แต่มีทัศนคติต่อบุหรี่ไฟฟ้าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


           

Article Details

How to Cite
ตะการีย์ ส. ., จันทนกุล พ., ปานจินดา ว., & สามสี ศ. (2024). ผลของโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองต่อความรู้และทัศนคติ เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของแกนนำนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 73(1), 46–53. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/261889
บท
บทความวิจัย

References

กรวินท์ กรประเสริฐวิทย์. (2558). ทัศนคติความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรม และคุณลักษณะการใช้งานของเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้เครื่องชำระค่าโทรศัพท์อัตโนมัติของประชาชนในกรุงเทพ มหานคร ปี 2558 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, วศิน พิพัฒนฉัตร, และStephen Harmann. (2563). ภัยร้าย ซ่อนเร้น บุหรี่ไฟฟ้า (Hidden dangers of E-cigarette) (พิมพ์ครั้งที่ 2). สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

เดือนฉาย ปั้นป้อม. (2561). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นิยม จันทร์นวล และ ศิริกัญญา วิลาศรี. (2560). ผลการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองชัยภูมิ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(1), 44-58.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ประภาส ธนะ, รัชพร ศรีเดช, และนพภัสสร วิเศษ. (2563). ประสิทธิภาพของการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ และทักษะการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ทางออนไลน์ในสถาบันการศึกษาในแกนนำนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 69(1), 36-43.

พรรณี ปานเทวัญ. (2560). ทฤษฎีความสามารถของตนเองกับการเลิกสูบบุหรี่. วารสารพยาบาลทหารบก, 11(22), 35-43.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (ม.ป.ป.). การกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane (Determining the sample size by the Yamane’s formula). http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

รณชัย คงสกนธ์, วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์, วินัย วนานุกูล, และ ช่อผกา วิริยานนท์. (2562, 11 ธันวาคม). วิกฤตสุขภาพเยาวชนไทย จากภัยบุหรี่ไฟฟ้า. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). https://www.trc.or.th/th/

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 131-215.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman/Times Books/ Henry Holt.