ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกําลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม

Main Article Content

นรีกานต์ กลั่นกำเนิด
ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกําลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เลือกแบบเจาะจง โดยเป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับบริการในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกออร์โธปิ ดิกส์ โรงพยาบาลธรรม ศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน จับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องดัชนีมวลกายและความรุนแรงของโรค กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกําลังกายแบบแรงต้าน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินระดับความรู้สึกเจ็บปวด และแบบสอบถามกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงได้เท่ากับ 0.76 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังได้รับโปรแกรมฯ  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความปวดต่ำกว่า และกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความปวดต่ำกว่า และกิจกรรมทางกายสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
กลั่นกำเนิด น. ., & นันไทยทวีกุล ป. . (2023). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการออกกําลังกายแบบแรงต้านต่อความปวดและกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารพยาบาล, 72(4), 1–10. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/263115
บท
บทความวิจัย

References

กัญชิตา เสริมสินสิริ, สุรีรัตน์ เสมศรี, และศิรัสภรณ์ นนท์อัครวาทิน. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความสี่ยงต่อการหกล้ม. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 359-370.

นฤมล ลำเจริญ, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, และมุกดา หนุ่ยศรี. (2561). ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(3), 107-116.

ไพรัตน์ ศุกระศร และ ศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2565). ผลการให้ข้อมูลผ่านไลน์ต่อความวิตกกังวลหลังผ่าตัดทำทวารเทียมในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 34(2), 21-34.

สิรภพ โตเสม, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ธงชัย สุนทรา, และบวรลักษณ์ ทองทวี. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม และการทรงตัวในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 26(2), 172-187.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2566). การสูญเสียปีสุขภาวะ รายงายภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยใน พ.ศ. 2562. แฮนดี เพรส.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman.

Bitar, S., Omorou, A. Y., Van Hoye, A., Guillemin, F., & Rat, A. C. (2020). Five-year evolution patterns of physical activity and sedentary behavior in patients with lower-limb osteoarthritis and their sociodemographic and clinical correlates. The Journal of Rheumatology, 47(12), 1807-1814. https://doi.org/10.3899/jrheum.190854

Chang, T. F., Liou, T. H., Chen, C. H., Huang, Y. C., & Chang, K. H. (2012). Effects of elastic-band exercise on lower-extremity function among female patients with osteoarthritis of the knee. Disability and Rehabilitation, 34(20), 1727-1735.

https:// doi.org/10.3109/09638288.2012.660598

Charoencholvanich, K., & Pongcharoen, B. (2005). Oxford knee score and SF-36: Translation & reliability for use with total knee arthroscopy patients in Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand, 88(9), 1194-1202.

Degerstedt, A., Alinaghizadeh, H., Thorstensson, C. A., & Olsson, C. B. (2020). High self-efficacy - a predictor of reduced pain and higher levels of physical activity among patients with osteoarthritis: An observational study. BMC Musculoskeletal Disorders, 21(1), 380.

https://doi.org/10.1186/s12891-020-03407-x

Gay, C., Guiguet-Auclair, C., Mourgues, C., Gerbaud, L., & Coudeyre, E. (2019). Physical activity level and association with behavioral factors in knee osteoarthritis. Annals of Physical and Rehabilitation Medicine, 62(1), 14-20. https://doi.org/10.1016/j.rehab.2018.09.005

Hanrungcharotorn, U., Pinyopasakul, W., Pongthavornkamol, K., Dajpratham, P., & Beeber, A. S. (2017). Factors influencing physical activity among women with osteoarthritis of the knee. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 21(1), 5-17.

Leethong-in, M. (2009). A causal model of physical activity in healthy older Thai people [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University].Chulalongkorn University Intellectual Repository

(CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/17413/1/mayuree_le.pdf

Liu, C. J., & Latham, N. K. (2009). Progressive resistance strength training for improving physical function in older adults. Cochrane Database of Systematic Reviews, (3), CD002759. https://doi.org/10.1002/ 14651858.CD002759.pub2

Marks, R. (2012). Self-efficacy and its application in the treatment of knee osteoarthritis: A critical review. Rheumatology Reports, 4(1), 34-45. https://doi.org/10.4081/rr.2012.e10

Mortensen, L., Schultz, J., Elsner, A., Jakobsen, S. S., Soballe, K., Jacobsen, J. S., Kierkegaard, S., Dalgas, U., & Mechlenburg, I. (2018). Progressive resistance training in patients with hip dysplasia: a feasibility study. Journal of Rehabilitation Medicine, 50(8), 751-758.

https://doi.org/10.2340/16501977-2371

Morsley, K., Berntzen, B., Erwood, L., Bellerby, T., & Williamson, L. (2018). Progressive resistance training (PRT) improves rheumatoid arthritis outcomes: A district general hospital (DGH) model. Musculoskeletal Care, 16(1), 13-17. https://doi.org/10.1002/msc.1193

O’Neill, T. W., & Felson, D. T. (2018). Mechanisms of osteoarthritis (OA) pain. Current Osteoporosis Reports, 16(5), 611-616. https://doi.org/10.1007/s11914-018-0477-1

Song, J., Chang, A. H., Chang, R. W., Lee, J., Pinto, D., Hawker, G., Nevitt, M., & Dunlop, D. D. (2018). Relationship of knee pain to time in moderate and light physical activities: Data from initiative. Seminars in Arthritis and Rheumatism, 47(5), 683-688.

Wallis, J. A., Taylor, N. F., Bunzli, S., & Shields, N. (2019). Experience of living with knee osteoarthritis: A systematic review of qualitative studies. BMJ Open, 9(9), Article e030060.

https://doi.org/10.1136/bmjopen-2019-030060

World Health Organization. (2022). Musculoskeletal health. https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/ musculoskeletal-conditions