การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา

Authors

  • Natcha Rungrojphanich โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

Lean Management, Waste, Dispensing Processes

Abstract

การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน ด้วยการจัดการแบบลีน ให้เกิดกระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยาแบบเสร็จภายใน 1 วัน

          ผลจากการวิเคราะห์กระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยารูปแบบเดิมด้วยการจัดการแบบลีน พบความสูญเสียของกระบวนการ ได้แก่ ความสูญเปล่าจากการรอมากเกินไป (Waiting time lost), ความสูญเปล่าจากการทำงานมากขั้นตอน (Excess Processing), ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนที่มากเกินไปของบุคลากร (Unnecessary motion lost) และความสูญเปล่าจากการไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรือเครื่องมือที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า (Underutilized skills lost) เมื่อได้จัดการความสูญเสีย และออกแบบกระบวนการรูปแบบใหม่ ทำให้สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานจากเดิม 7 ขั้นตอน เป็น 5 ขั้นตอน ลดระยะเวลารวมของกระบวนจากเดิม 189 นาที เป็น 81 นาที เกิดเป็นกระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยาแบบเสร็จภายใน 1 วันได้เป็นผลสำเร็จ

References

เกียรติขจร โฆมานะสิน. [ม.ป.ป.]. ระบบการผลิตแบบลีน–การจัดการกระบวนการที่เป็นเลิศ. ค้นเมื่อ (14 พฤษภาคม 2557), จาก file:///C:/Users/user/Downloads/lean_production_1_.pdf

พลังงาน, ประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลผลิต. [ม.ป.ป.]. ระบบการผลิตแบบลีน-การจัดการกระบวนการที่เป็นเลิศ. ค้นเมื่อ (18 มิถุนายน 2557), จาก https://eep.cpportal.net

พัชรี ลักษณะวงศ์ศรี. [ม.ป.ป.]. Lean pharmacy. ค้นเมื่อ (24 มกราคม 2556), จาก competencyrx.com/images/pdf/lean.pdf

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. [ม.ป.ป.]. แนวคิดลีน (Lean Thanking) ค้นเมื่อ (24 มกราคม 2556), จาก: https://it.dru.ac.th/e-profiles/uploads/learns/learn383.pdf

Downloads

Published

2017-04-28

How to Cite

1.
Rungrojphanich N. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา. TUHJ [Internet]. 2017 Apr. 28 [cited 2024 Dec. 23];2(1):31-5. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240240

Issue

Section

บทความวิชาการ