Publication Ethics

บทบาทหน้าที่ผู้นิพนธ์

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งตีพิมพ์เป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  2. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการค้นคว้าวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. เมื่อผู้นิพนธ์มีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของตัวเอง ต้องอ้างอิงผลงานของผู้นั้นและจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความด้วย
  4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำผู้นิพนธ์
  5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินค้นคว้าวิจัยจริง
  6. ผู้นิพนธ์จะต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ ในกิตติกรรมประกาศ
  7. ผู้นิพนธ์จะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนี้
  2. บรรณาธิการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  3. บรรณาธิการไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่จากที่อื่นมาแล้ว
  4. บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
  5. บรรณาธิการจะคัดเลือกและพิจารณาตีพิมพ์บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ประเมินบทความ รวมถึงความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  6. บรรณาธิการจะตรวจสอบบทความในเรื่องการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือได้ หากตรวจสอบพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น  บรรณาธิการจะติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจงสำหรับในการประกอบการพิจารณาบทความ  และหากไม่มีข้อชี้แจงตามหลักวิชาการ  บรรณาธิการจะปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น

บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  2. บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณานั้น ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีประโยชน์ทับซ้อนกับบทความนั้น เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย หรือ รู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือ อื่น ๆ  ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้  ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจนและความสอดคล้องของเนื้อหา  และไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความนั้น
  4. ผู้ประเมินบทความสามารถเสนอแนะผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย ทั้งนี้หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความนั้นมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานของผู้อื่นโดยมีหลักฐานชัดเจน  ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย