จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงาน

จริยธรรมของผู้นิพนธ์

  1. บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน หรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาในวารสารอื่น
  2. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่ได้จากการค้นคว้า โดยไม่บิดเบือนข้อมูล
  3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความและการอ้างอิงเอกสารให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารได้กำหนดไว้ในคำแนะนำผู้นิพนธ์
  4. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฎในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการค้นคว้าและเรียบเรียงเนื้อหา
  5. การเขียนกิตติกรรมประกาศ ผู้นิพนธ์ต้องเขียนให้ชัดเจนและกระชับ  หากมีแหล่งทุนให้การสนับสนุน ผู้นิพนธ์สามารถเขียนได้ในส่วนกิตติกรรมประกาศนี้

จริยธรรมของบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความทุกฉบับที่ส่งเข้ารับพิจารณาว่ามีขอบเขตเนื้อหาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วารสารได้กำหนดไว้ และไม่รับตีพิมพ์บทความที่ได้เผยแพร่จากวารสารอื่น
  2. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามเนื้อหาของบทความ เพื่อพิจารณากลั่นกรองตามหลักวิชาการ  โดยผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อกัน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
  3. บรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. บรรณาธิการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ทรงคุณวุฒิในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ
  5. บรรณาธิการพิจารณาคัดเลือกและรับตีพิมพ์บทความที่ผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงเนื้อหาบทความมีความใหม่ ชัดเจน และความสอดคล้องกับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  6. บรรณาธิการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ  หากตรวจพบบทความมีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น  บรรณาธิการจะติดต่อผู้นิพนธ์เพื่อขอคำชี้แจงสำหรับในการประกอบการพิจารณาบทความ  และหากไม่มีข้อชี้แจงตามหลักวิชาการ  บรรณาธิการจะปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของบทความที่วารสารส่งมาให้พิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบทความที่พิจารณา เช่น เป็นผู้ร่วมวิจัย หรือที่ปรึกษา หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว ที่จะทำให้ผู้ทรงคุณวุฒิไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้  ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินบทความตามความเชี่ยวชาญของตนเอง โดยพิจารณากลั่นกรองคุณภาพตามหลักวิชาการ และไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความนั้น
  4. หากผู้นิพนธ์ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญไว้  ผู้ทรงคุณวุฒิสามารถให้ข้อเสนอแนะได้  ซึ่งต้องเป็นเนื้อหาที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความนั้น  ทั้งนี้หากผู้ทรงคุณวุฒิพบบทความมีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่นโดยมีหลักฐานชัดเจน  ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 

     หากเป็นการทำวิจัยในมนุษย์ ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนแล้ว  ทั้งนี้ผู้นิพนธ์ต้องระบุเลขรหัสการรับรองและวันที่ได้รับอนุมัติในบทความด้วย