Guideline for multidisciplinary team approach in cleft lip and palate patient
Keywords:
Treatment guideline, Multidisciplinary team approach, Cleft lip and palateAbstract
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นภาวะความผิดปกติที่มีความซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยการแก้ไขความผิดปกติทางกายภาพในผู้ป่วยที่ไม่มีความผิดปกติแบบกลุ่มอาการ การทำหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องและการพัฒนาการด้านต่างๆ ทางด้านกายภาพจะมีความผิดปกติบริเวณริมฝีปาก จมูก กระดูกสันเงือก เพดานแข็งและเพดานอ่อน ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงที่เกิด ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในทารกส่งผลสำคัญทำให้ทารกดูดนมได้น้อย และเกิดการสำลักได้ง่ายกว่าทารกปกติ ซี่งจะมีผลต่อเนื่องทำให้ลดพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการพัฒนาการด้านอื่นๆร่วมด้วย เช่น การฟัง การพูด การเข้าสังคม และการขาดความมั่นใจในตนเอง ดังนี้การรักษาจะต้องทำเป็นหลายขั้นตอน โดยที่การแก้ไขความผิดปกติในแต่ละส่วนรวมถึงการผ่าตัดในแต่ละขั้นตอนควรจะทำในช่วงอายุที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบในด้านลบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของผู้ป่วย
การตรวจและให้รักษาที่มีที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเกิดได้จากการประสานร่วมมือของทีมบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ ดังนั้นคณะทันตแพทยศาสตร์ร่วมกับแผนกทันตกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จึงได้เห็นความสำคัญและได้มีการริเริ่มจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันภายใต้โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Multidisciplinary approach for Cleft lip and/or palate #1 - NAM” ซึ่งได้มีการสรุปร่างแนวทางการให้การรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่โดยบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ร่างหนึ่งในแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่โดยทีมสหสาขาที่ได้ปรับใช้ในแผนก รวมทั้งเป็นการให้ข้อมูลแก่ ผู้ป่วย พ่อแม่และผู้ที่มีส่วนดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ เพื่อให้มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญและขั้นตอนในการรักษา เพื่อที่จะได้ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน
References
ปองใจ วิรารัตน์, วิภาพรรณ ฤทธิ์ถกล, กมลรัตน์ ลิมป์ปัทมปาณี (2553) การศึกษาการกระจายของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552. วิทยาสารสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย Journal of the Thai Association of Orthodontists, 9: 3-13.
Chowchuen, B., Thanaviratananich, S., Chichareon, V., Kamolnate, A., Uewichitrapochana, C., Godfrey, K. (2015). A Multisite Study of Oral Clefts and Associated Abnormalities in Thailand: The Epidemiologic Data. Plastic and Reconstructive Surgery Global Open, 3(12), e583. https://doi.org/10.1097/GOX.0000000000000570
มารศรี ชัยวรวิทย์กุล และคณะ (2555) การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับทันตแพทย์และทันตแพทย์จัดฟัน. เล่ม 1 บ.ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.เชียงใหม่
สุพินดา สุทธานุรักษ์ (2558) ความชุกของปากแหว่ง/เพดานโหว่ในจังหวัดพัทลุง.วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11,29:587-595.
Coots, B. K. (2012). Alveolar Bone Grafting: Past, Present, and New Horizons. Seminars in Plastic Surgery, 26(4), 178–183. https://doi.org/10.1055/s-0033-1333887
Kobus K, Kobus-Zaleśna K (2014) Timing of cleft lip and palate repair. Dev Period Med. 2014;18(1):79-83.