ผลการจัดการแบบมีส่วนร่วมต่อคุณภาพงาน IC ของ รพ.สต.เครือข่ายโรงพยาบาลบ้านโป่ง
Keywords:
การจัดการแบบมีส่วนร่วม, คุณภาพงานIC, รพ.สต.Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน IC ในรพ.สต. 2.ศึกษาแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในงาน IC ของเจ้าหน้าที่รพ.สต. 3. เปรียบเทียบคุณภาพงาน IC ของรพ.สต.ก่อนและหลังการจัดการแบบมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รพ.สต. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือคู่มือการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรพ.สต.อำเภอบ้านโป่ง ที่ผู้วิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.สร้างจากการวิเคราะห์ ปัญหาการปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและการศึกษามาตรฐานงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รวมถึงการศึกษาเอกสารวิชาการ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในรพ.สต. การวิเคราะห์ ทางสถิติ ใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติทดสอบค่าที ชนิด 1 กลุ่ม (Paired t-test)
ผลการวิจัย
1. ศึกษาสถานการณ์การดำเนินงาน IC ในรพ.สต. พบปัญหาที่สำคัญ คือ 1) ความรู้ ความเข้าใจและทักษะของบุคลากร 2) การทำลายเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อ 3) การจัดการขยะติดเชื้อ 4) การจัดอาคารสถานที่
2. แนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในงาน IC ของเจ้าหน้าที่รพ.สต. มขั้นตอน ดังนี้
2.1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดย 1)ศึกษาสถานการณ์วิเคราะห์และคืนข้อมูล 2)แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคและการแก้ปัญหา 3)ร่วมกันศึกษามาตรฐานงานICทบทวน องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง 4)ร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติงาน จัดทำเป็นรูปเล่มเรียกว่า คู่มือการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในรพ.สต.อำเภอบ้านโป่ง 5)สื่อสารทำความเข้าใจและกำหนดวันประกาศใช้คู่มือ
2.2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มอบหมายให้พยาบาลวิชาชีพรับผิดชอบงานIC กำหนดช่องทาง ให้สามารถปรึกษาผู้รับผิดชอบงาน ICของโรงพยาบาลและทีมพัฒนาคุณภาพปฐมภูมิ
2.3 การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ เจ้าหน้าที่รพ.สต.ร่วมกันออกแบบระบบงานIC จัดหาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานและกำหนดงบประมาณสนับสนุนในงานIC
2.4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ร่วมกันทบทวนแนวทางปฏิบัติ ประเมินผล ปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติตามมาตรฐานงาน IC กำกับติดตามงาน ICในทีประชุมประจำเดือนของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.
3. ค่าคะแนนคุณภาพงาน IC หลังการจัดการแบบมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รพ.สต.สูงกว่าก่อนการจัดการแบบมีส่วนร่วมเจ้าหน้าที่รพ.สต.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ประชุม รอดประเสริฐ. (2543). นโยบายและการวางแผน. กรุงเทพฯ : เนติกุล.
วิไลลักษณ์ สีขาว , กุหลาบทิพย์ วงศ์สาลีและคณะ.2556 การพัฒนาระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอปรางค์กู่จังหวัดศรีสะเกษ (ระบบออนไลน์).แหล่งที่มา .203.157.165.4/ssko_presents/file ( 20 พฤศจิกายน 2558)
วันชัย วัฒนศัพท์. (2549). ระบบทวิภาคีกับการแก้ไขปัญหาแรงงานในรัฐวิสาหกิจ ศูนย์สันติวิขัยและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ : กองรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2543). นโยบายและการวางแผน. กรุงเทพฯ : เนติกุล
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980).
Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.