การเปลี่ยนแปลงของแรงดันถุงลมท่อช่วยหายใจใน หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Authors

  • ธันยมัย ศรีหมาด ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • ยุพิณ วัฒนสิทธิ์ ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Keywords:

แรงดันถุงลมท่อช่วยหายใจ intra-tracheal cuff pressure, cuff pressure

Abstract

แรงดันในถุงลมของท่อช่วยหายใจที่น้อยกว่าเกณฑ์ (20 cmH2O) มักพบในผู้ป่วยวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแรงดันถุงลมท่อช่วยหายใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับเปลี่ยนแปลงแรงดันในถุงลมท่อช่วยหายใจ ประชากรเป็นผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ใส่ท่อช่วยหายใจและรับไว้ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ จำนวน 138 ราย เก็บข้อมูล เดือน กันยายน พ.ศ.2559 ถึงเดือน พฤษภาคม 2560 วิธีการวิจัยโดยวัดแรงดันถุงลม 5 ครั้ง ในเวลาที่แตกต่างกัน 5 เวลา โดยทุกครั้งเริ่มต้นที่แรงดันถุงลมท่อช่วยหายใจ 20 cmH2O รวม 575 ครั้ง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงของ Pcuff ลดลงจากค่าปกติ (20 cmH2O) มากกว่าการเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 70) ลดลงเฉลี่ย 5.1 cmH2O ลดลงมากในช่วง 9-12 ชั่วโมง ระยะเวลาในการวัด Pcuff ระยะเวลาที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ขนาดของท่อช่วยหายใจ ทางที่ใส่ท่อช่วยหายใจ peep, pressure support ที่ใช้ สภาวะของผู้ป่วย และท่านอนของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของ Pcuff อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่า PIP และmode ที่ใช้ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของ Pcuff อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (.001,.023)ตามลำดับ

References

Berry AM, Davidson PM, Masters J,

Rolls K. Systematic literature review of oral hygiene practices for intensive care patients receiving mechanical ventilation. Am J Crit Care. 2007;16:552-62.

Rouzé A, Jaillette E, Nseir S. Continuous control of tracheal cuff pressure: an effective measure to prevent ventilator-associated pneumonia. Crit Care. 2014;18:1-3.

Nseir S, Brisson H, Marquette CH, Chaud P, Di Pompeo C, Diarra M, et al. Variations in endotracheal cuff pressure in intubated critically ill patients: prevalence and risk factors. Eur J Anaesthesiol. 2009;26:229-34.

Duguet A, D'Amico L, Biondi G,

Prodanovic H, Gonzalez BJ, Similowski T. Control of tracheal cuff pressure: a pilot study using a pneumatic device. IMC.2007;33:128-32.

Lucangelo U, Zin WA, Antonaglia V,

Petrucci L, Viviani M, Buscema G, et al. Effect of positive expiratory pressure and type of tracheal cuff on the incidence of aspiration in mechanically ventilated patients in an intensive care unit. CRIT CARE MED.2008;36:409-13.

Sole ML, Su X, Talbert S, Penoyer DA, Kalita S, Jimenez E, et al. Evaluation of an intervention to maintain endotracheal tube cuff pressure within therapeutic range. Am J Crit Care. 2011;20:109-18.

Godoy AC, Vieira RJ, Capitani EM.

Endotracheal tube cuff pressure alteration after changes in position in patients under mechanical ventilation. J Bras Pneumol.2008,;34:294-7.

Lizy C, Swinnen W, Labeau S, Poelaert J, Vogelaers D, Vandewoude K, et al. Cuff Pressure of Endotracheal Tubes After Changes in Body Position in Critically Ill Patients Treated With Mechanical Ventilation. Am J Crit Care. 2014;23:e1-8.

Motoyama A, Asai S, Konami H, Matsumoto Y, Misumi T, Imanaka H, et al. Changes in endotracheal tube cuff pressure in mechanically ventilated adult patients. J Intensive Care.2014;2: 7.

Aday LA, Andersen R. A Framework for the Study of Access to Medical Care. Health Serv Res. 1974; 9: 208-20.

Downloads

Published

2017-12-28

How to Cite

1.
ศรีหมาด ธ, วัฒนสิทธิ์ ย. การเปลี่ยนแปลงของแรงดันถุงลมท่อช่วยหายใจใน หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. TUHJ [Internet]. 2017 Dec. 28 [cited 2024 May 7];2(3):35-40. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240259

Issue

Section

Special Articles