Frozen sperm, oocyte and embryo; How do they live?
Keywords:
oocyte, Embryo, sperm, identification, freezingAbstract
ในกระบวนการการแช่แข็งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนของผู้มารับบริการ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงและให้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูงคือการระบุตัวตนอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน อีกทั้งการใช้เวลาในการค้นหาตัวอ่อน เพื่อนำมาละลายหากใช้เวลานานอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของตัวอ่อนที่ทำการละลายและตัวอ่อนอื่น ๆ ที่เก็บอยู่ในถังไนโตรเจนดังนั้นการจัดระบบการเก็บข้อมูลต่างๆของหัตถการ ต้องมีรวดเร็ว ความถูกต้องแม่นยำเป็นอย่างสูง มีการจัดเก็บอย่างมีระบบมาตรฐาน ที่จะทำให้ทีมงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นไปตามข้อแนะนำของมาตรฐานห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้วสากลซึ่งในห้องปฏิบัติการเด็กหลอดแก้วของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ได้มีระบบการจัดเก็บและรักษาอยู่บ้างแล้ว แต่ยังเป็นระบบที่ยังก่อให้เกิดความล่าช้าในการค้นหาและระบุตัวตนของอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนดังกล่าว ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้คิดที่จะพัฒนาระบบที่มีอยู่แล้วนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานให้มากที่สุดโดยใช้วิธีที่เป็นระบบมากขึ้นทั้งในรูปแบบเอกสาร ฉลากที่ใช้ติด ภาชนะที่ใช้ในการเก็บต่างๆ แล้วจึงเปรียบเทียบเวลาในการใช้ค้นหาตัวอ่อนที่จะทำการละลายและความพึงพอใจของทีมงานกับวิธีที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งหลังจากการใช้ระบบการแบบใหม่พบว่าการค้นหาตัวอ่อนที่จะทำการละลายสามารถทำได้รวดเร็วขึ้นอย่างมากคือจากวิธีเดิมใช้เวลาเฉลี่ย 43.94 ± 16.73 วินาที ส่วนวิธีใหม่ใช้เวลาเพียง 24.09 ± 6.62 วินาที ซึ่งใช้เวลาเร็วขึ้นถึงร้อยละ 55 และได้รับความพึงพอใจจากทีมงานนักวิทยาศาสตร์ร้อยละ 80 จึงสรุปได้ว่าการจัดระบบการแช่แข็งและระบุตัวตนของอสุจิ ไข่ และตัวอ่อนแบบใหม่นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาไข่ อสุจิและตัวอ่อนได้รวดเร็วมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก
References
ASRM Practice Committee, 2008, Revised guidelines for human embryology and andrology laboratories, Fertil Steril 90 (5 Suppl), S45-59.
EMBRYOLOGY, E. S., 2015, Revised Eshre Guideline group on good Practice in IVF Labs 2015, Retrieved11 24 2017, from www.eshre.eu: https://www.eshre.eu/GUIDELINES