Development of nutrition education tools for pediatric patients
Keywords:
สื่อการสอน, ทุพโภชนาการ, การให้คำปรึกษาAbstract
ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยเด็กที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่มีปัญหาทุพโภชนาการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาทางโภชนาการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับภาวะโรคที่เป็น ซึ่งการให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการจำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่เข้าใจง่าย และน่าดึงดูดใจสำหรับผู้ป่วยเด็ก ด้วยเหตุนี้จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนทางด้านโภชนาการเพื่อผู้ป่วยเด็ก โดยได้จัดทำสื่อการสอนทั้งสิ้น 5 ชุด ดังนี้ เกมส์จิ๊กซอธงโภชนาการ, เกมส์กระดานอาหารควรเลือก/อาหารควรหลีกเลี่ยง, เกมส์ภาพนับคาร์บ, เกมส์ไพ่ทายคำถามอาหารสุขภาพ และสมุดบันทึกอาหารประจำวัน
จากผลการพัฒนาสื่อการสอนข้างต้น พบว่า เมื่อให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการพร้อมสื่อที่พัฒนาขึ้น ผู้ป่วยเด็กมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น โดยคิดจากการทำแบบทดสอบหลังการให้คำปรึกษา พบว่า ผู้ป่วยมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการคิดเป็นร้อยละ 87.25 นอกจากนี้สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นยังสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ป่วยเด็กได้นานขึ้นระหว่างการให้คำปรึกษาผู้ป่วยเด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบมากกว่าการสอนที่ไม่มีสื่อดังกล่าว ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์การพัฒนาสื่อการสอนครั้งนี้คือ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเด็กเข้าใจในเนื้อหาทางโภชนาการและสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันต่อไป
References
คณะทำงานจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย, 2552, คู่มือธงโภชนาการ กินพอดีสุขีทั่วไทย, กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548, ความสำคัญของโภชนาการในวัยเรียน และ สารประกอบสำคัญในผักผลไม้, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล
วงสวาท ปัทมาคม, 2537, คุณประโยชน์ของการบริโภคผักและผลไม้. สถาบันวิจัยโภชนาการ.
กมลนิตย์ ปีมณี, ชญานิษฐ์ วานิจจะกูล, อรพินท์ บรรจง, พรรณี พรประชานุวัฒน์ และอุไรพร จิตต์แจ้ง, โปรแกรมคำนวณสารอาหาร INMUCAL-Nutrients V.3. สถาบันวิจัยโภชนาการ, มหาวิทยาลัยมหิดล