กำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Authors

  • ดามพวรรณ จงเลิศวณิชกุล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ระบบกำจัดขยะติดเชื้อ

Abstract

จากการศึกษาหาระบบการจ้างเหมาบริการกำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์            เฉลิมพระเกียรติโดยการจ้างเหมาบริการ 5 ปี  ได้แก่ ระบบเตาเผาจะเป็นการทำลายเชื้อให้หมดไป และมีส่วนของขี้เถ้าหลงเหลืออยู่  การทำลายเชื้อด้วยระบบไอน้ำเป็นการฆ่าเชื้อโดยวิธีหนึ่ง วิธีนี้จะมีมูลฝอยคงเหลือจากความชื้นของไอน้ำ  และการใช้เคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยระบบไมโครเวฟจะมีขยะเป็นผงแห้ง  ทั้งนี้ทั้ง 3 ระบบมีค่าใช้จ่าย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน พบว่า ระบบเตาเผามีค่าใช้จ่ายถูกกว่าระบบไอน้ำ และระบบไม่โครเวฟ  1.4 : 12.2  ล้านบาท  ซึ่งระบบไมโครเวฟมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าทั้งสองระบบ และแต่ละระบบมีข้อดี ข้อด้อยต่อสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนี้

ระบบที่ 1  ระบบเตาเผาข้อดีกำจัดขยะได้ทุกประเภททั้งขยะทั่วไป เคมี และติดเชื้อทุกขนาด ข้อด้อยมีผลทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ  ฝุ่น และก๊าซหลายชนิดซึ่งบางชนิดสามารถควบคุมได้โดยบำบัดก่อนออกสู่บรรยากาศภายนอก  แต่บางชนิดไม่สามารถควบคุมได้จากการเผาไหม้ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด และเกิดมลพิษจากน้ำเสีย การเผาไหม้  จากอุปกรณ์  การแยกเถ้าออกจากอากาศเสีย การล้างพื้น การล้างรถหรือล้างถังขยะโดยทิ้งลงในบ่อบำบัดที่ไม่ได้มาตรฐานส่งผลต่อประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งกำจัดขยะติดเชื้อ

ระบบที่ 2 ระบบไอน้ำ ข้อดีลดมลพิษทางอากาศ และฝุ่น ขยะที่ผ่านการฆ่าเชื้อและบดย่อยแล้ว ส่งไปยังโรงปูนหรือโรงไฟฟ้า  เพื่อใช้งานในรูปของเชื้อเพลิงแข็ง (RDF) เป็นพลังงานทดแทนตามนโยบาย Green Society and  Clean Energy ของรัฐบาล  ซึ่งเครื่องกำจัดขยะติดเชื้อด้วยระบบไอน้ำมีข้อด้อยกว่าระบบเผา กับระบบไมโครเวฟประเภทชิ้นส่วนอวัยวะต่างๆที่มีขนาดใหญ่กว่านิ้วมือเครื่องกำจัดไม่ได้  และมีข้อด้อยกว่าไมโครเวฟเรื่องกลิ่นเหม็นจากห้องทำงานกำจัดขยะต้องมีการควบคุม ระบบป้องกันกลิ่นไม่ให้รบกวน  ต้องบำบัดน้ำเสียจากเครื่องกำจัดขยะก่อนปล่อยลงบ่อน้ำ และมีความเสี่ยงในการติดตั้งระบบก๊าซ พื้นที่ภายนอกอาคาร และอีกประการหนึ่งมีความซับซ้อนของระบบการทำงานของเครื่องข้างมาก

 ระบบที่ 3 ระบบไมโครเวฟ ข้อดีกระบวนการกำจัดขยะติดเชื้อโดยใช้เครื่องเดียวทุกกระบวนการ และสามารถกำจัดขยะติดเชื้อได้ทุกประเภท ทุกขนาด  ใช้ไฟฟ้าน้อย ไม่ต้องใช้ไอน้ำ ไม่มีความร้อนตกค้างในมูลฝอย และประสิทธิภาพดี ซึ่งขยะที่ปลอดเชื้อแล้วมีความชื่นน้อยกว่าระบบไอน้ำ  โดยขยะที่ปลอดเชื้อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำอิฐตัวหนอนแผ่นทางเท้าได้  ข้อด้อยของระบบมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งระบบ ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้สูง มีปัญหาในการกำจัดต้นกำเนิดรังสี และขยะจะมีลักษณะเป็นผง ความชื่นต่ำ จะทำให้เกิดฝุ่นละอองของขยะระหว่างเปลี่ยนภาชนะถ้าหากควบคุมไม่ดีจะทำให้เกิดฝุ่นกระจาย  รวมถึงขยะที่แห้งแล้วอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ถ้าระบบไม่ได้มาตรฐาน ที่สำคัญข้อควรระวังเรื่องของรังสีไมโครเวฟต้องมีการตรวจสอบระบบให้ได้ตามมาตรฐานใช้งานได้ตลอดเวลา

References

สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย, ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2560 www.hazwaste(at)pcd(dot)go(dot)th

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, หม้อไอน้ำ (Boilers) ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560 www.boilertailand.com/intro_1185950075/2_Boilers.ppt

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สถานการณ์จัดการมูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทย ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2560 https://www.pcd.go.th/info_serv/service.html

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม-กระทรวงสาธารณสุขค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560 https://env.anamai.moph.go.th

Downloads

Published

2018-04-30

How to Cite

1.
จงเลิศวณิชกุล ด. กำจัดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. TUHJ [Internet]. 2018 Apr. 30 [cited 2024 May 7];3(1):17-28. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240272

Issue

Section

บทความวิจัย