Paraffin block sorting equipment to speed up storage
Keywords:
อุปกรณ์ช่วยจัดเรียง, พาราฟินบล็อก, พยาธิวิทยาAbstract
ปัจจุบันจำนวนสิ่งส่งตรวจทางพยาธิวิทยาของสาขาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนพาราฟินบล็อก (paraffin block)หลังจากการตัดชิ้นเนื้อ (tissue sectioning) ในแต่ละวันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเช่นกันซึ่งหลังจากการตัดชิ้นเนื้อดังกล่าวแล้วพาราฟินบล็อกจะถูกเก็บรวมกันในภาชนะโดยไม่ได้จัดเรียงตามลำดับหมายเลขสิ่งส่งตรวจ (surgical number) จึงทำให้ยากต่อการจัดเก็บเพื่อใช้สำหรับการตัดชิ้นเนื้อเพิ่มเติม การย้อมพิเศษ (special stain) การย้อมอิมมูโนฮิสโตเคมี (Immunohistochemistry) การยืมไปรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วย และเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการแพทย์ตามข้อกำหนดของราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ช่วยจัดเรียงพาราฟินบล็อกเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่จัดเรียงพาราฟินบล็อกได้ง่ายสะดวก และรวดเร็วขึ้น
ทำการศึกษาโดยบันทึกเวลาในการจัดเรียงพาราฟินบล็อกเป็นระยะเวลา 22 วัน โดยเปรียบเทียบระยะเวลาในการการจัดเรียง 2 รูปแบบ คือการจัดเรียงแบบปกติ (วางในขันพลาสติก) และการจัดเรียงแบบใช้อุปกรณ์ช่วยจัดเรียงพาราฟินบล็อกจากนั้นทำการเปรียบเทียบระยะเวลาในการจัดเรียงพาราฟินบล็อกของทั้งสองวิธีโดยทำการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษา พบว่า การจัดเรียงพาราฟินบล็อกด้วยอุปกรณ์ช่วยจัดเรียงสามารถลดระยะเวลาในการจัดเรียงได้โดยที่ระยะเวลาในการจัดเก็บโดยใช้อุปกรณ์ช่วยจัดเรียงพาราฟินบล็อกมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.25 วินาที/บล็อก ส่วนระยะเวลาในการจัดเรียงด้วยวิธีการจัดเรียงพาราฟินบล็อกแบบปกติ (วางในขันพลาสติก)มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.74 วินาที/บล็อก นำระยะเวลาในการจัดเรียงของทั้งสองวิธีมาทำการวิเคราะห์และทดสอบค่าที (t-test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้จากการรวบรวมรายงานความถูกต้องและแม่นยำในการค้นหาพาราฟินบล็อกเพื่อนำมาตรวจสอบซ้ำ (repeat) และการค้นหาเมื่อมีผู้ป่วยมาขอพาราฟินบล็อกเพื่อนำไปรักษาและติดตามผลต่อเนื่องนั้น พบว่าเจ้าหน้าที่สามารถค้นพาราฟินบล็อกได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และไม่มีรายงานว่ามีการจัดเก็บพาราฟินบล็อกผิดที่หรือผิดตำแหน่ง
References
ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย, 2560 “แบบสำรวจเพื่อการรับรองมาตรฐานทางวิชาการห้องปฏิบัติการ สาขาพยาธิกายวิภาค”
พาณี สีตกะลิน.คุณภาพบริการสุขภาพกับระบบลีน.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560,จากhttps://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book56_3/hospital.html
ประชาสันต์ แว่นไธสง, 2555“การพัฒนาระบบการลดระยะเวลาการให้บริการสำหรับโรงพยาบาลทางจิตเวชด้วยเทคนิคการจําลอง”วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นายอภิชาติ ทะสา, 2558, การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตกรณีศึกษา:โรงงานผลิตรถขุดดิน, ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการวิศวกรรม) สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรชุมา เจริญศิลป์, 2553, ศึกษาการวัดผลการนำลีนมาใช้การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์. อะคริลิกพลาสติก คู่แข่งกระจกแก้ว. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560, จาก https://www.mtec.or.th/academic-services/mtec-knowledge/577-