Effects of the 333’s visual screening models in community for prevention of blindness from cataract: Loengnoktha district, Yasothon province.

Authors

  • Jaruwan Chadthorng โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
  • Prasert Prasomruk สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ต้อกระจก, ผู้สูงอายุ, การคัดกรอง

Abstract

ความสำคัญของปัญหา: อำเภอเลิงนกทาได้ให้บริการแบบตั้งรับในโรงพยาบาล ประกอบกับอยู่ห่างจากโรงพยาบาลจังหวัดยโสธร ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการคัดกรองและผ่าตัด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการคัดกรองสายตาในชุมชน ด้วยแนวคิด 333 ในการป้องกันตาบอด จากโรคต้อกระจก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง ในกลุ่มผู้สูงอายุปี พ.ศ.2558-2560 จำนวน 14,080 คน, 12,142 คน และ 13,024 คน รูปแบบการคัดกรองสายตาในชุมชนด้วยแนวคิด 333 ประกอบด้วย ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร จัดบริการเชิงรุก และระยะติดตามผล ด้วย 3 พลัง ได้แก่ พยาบาลประจำคลินิกตาโรงพยาบาล พยาบาลเวชปฏิบัติใน รพ.สต.และ อสม. ดำเนินการ 3 ระดับคือ ระดับชุมชน ปฐมภูมิ และ  ทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกผลการตรวจคัดกรองจากโปรแกรม Vision 2020 และรายงานผลการตรวจรักษาสายตาผิดปกติ 

ผลการศึกษา: อสม. สามารถคัดกรองสายตาในกลุ่มเป้าหมาย ในปี พ.ศ.2558-2560 ได้ร้อยละ 83.6, 85.5 และ92.4 ตามลำดับ ผู้ที่สายตาผิดปกติได้รับการตรวจโดยพยาบาลเฉพาะทางตาปีพ.ศ.2558 จำนวน 2,526 คน นัดพบจักษุแพทย์ 426 คน (ร้อยละ 16.86) ปีพ.ศ.2559 จำนวน 5,283 คน นัดพบจักษุแพทย์ 464 คน (ร้อยละ 8.78) ปี พ.ศ.2560 จำนวน 6,368 คน นัดพบจักษุแพทย์ 545 คน (ร้อยละ 8.55) สามารถตรวจพบ Blinding Cataract เพิ่มจากร้อยละ 54.8 เป็นร้อยละ 57.5 และร้อยละ 56.6 ตามลำดับ นอกนั้นเป็น Low vision cataract

สรุป: รูปแบบการคัดกรองสายตาในชุมชนด้วยแนวคิด 333 สามารถเพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรองสายตาผิดปกติในกลุ่มผู้สูงอายุและเพิ่มการเข้าถึงการได้รับการผ่าตัดรักษาโดยความร่วมมือจากระดับชุมชน ถึงระดับทุติยภูมิ จึงควรนำรูปแบบนี้ขยายผลในระดับจังหวัดยโสธร และเขตสุขภาพที่ 10

References

Arphawan Sopontammarak. เร่งผ่าตัดต้อกระจกผู้ป่วยในพื้นที่จำกัด [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/25941

Resnikoff S, Pascolini D, Etya'ale D, et al. Global data on visual impairment in the year 2002. Bull World Health Organ 2004; 82(11): 844-51.

Arphawan Sopontammarak. เร่งผ่าต้อกระจกหลังพบตาบอดแล้วนับหมื่นราย. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2559]. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaihealth.or.th/Content/26707

สุทธิรักษ์ วิภูสันติ. ผลการคัดกรองผู้ป่วยต้อกระจกในเขตพื้นที่การให้บริการของโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. ลำปางเวชสาร 2552; 30(1):18-27.

เสริมทรง จันทร์เพ็ญ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก หอผู้ป่วยสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลโพธาราม. วารสารวิชาการโรงพยาบาลโพธาราม 2553; 207.

อภิรักษ์ ชัยวิรัตนะ. การรักษาต้อกระจกแบบบูรณาการ. Thai Journal of Public Health Ophthalmology 2552; 22(1): 32-41.

เพ็ญรุ่ง วงศ์สำราญ ธนวรรณ, สินประเสริฐ สุรีพร ตันติอำนวย และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบครบวงจร กลุ่มงานจักษุ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการโรงพยาบาลโพธาราม 2554: 21.

นิรัฐฐา ยะราไสย์. ประสิทธิผลของการคัดกรองและผ่าตัดต้อกระจกแบบผู้ป่วยนอก (same day surgery) ของเครือข่ายบริการ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. Service Plan Sharing: Roi Et 2560: 1-5.

สุพรรณี โตสัมฤทธิ์, อินทิรา ศิริสานนท์, อัญชลี หล่อนิมิตดี (การประเมินผลโครงการรณรงค์ผ่าตัดตาต้อกระจกในความร่วมมือของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) คปสอ. บางระกำ ปีงบประมาณ 2559. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2559; 11(2): 62-81.

Downloads

Published

2018-12-27

How to Cite

1.
Chadthorng J, Prasomruk P. Effects of the 333’s visual screening models in community for prevention of blindness from cataract: Loengnoktha district, Yasothon province. TUHJ [Internet]. 2018 Dec. 27 [cited 2024 May 6];3(3):10-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240292

Issue

Section

บทความวิจัย