การเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งเวรเพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยใช้ Lean management
Abstract
การสื่อสารที่สำคัญของพยาบาล คือ การรับ-ส่งเวร ซึ่งเป็นการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยจากพยาบาลทีมหนึ่งไปยังพยาบาลอีกทีมหนึ่ง ทุกเวร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เกิดความปลอดภัย เริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่ง จำหน่ายกลับบ้าน บุคลากรใหม่หรือผู้ขาดประสบการณ์ อาจมีการส่งต่อข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลตามแผนการรักษา ใช้ระยะเวลานานในการรับ-ส่งเวรแต่ละครั้ง ทำให้การดูแลผู้ป่วยลดลง โครงการนวัตกรรม “การเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งเวร เพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง โดยใช้ Lean management” นี้ มีความมุ่งหวังเพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามแผนการรักษา รวมทั้งช่วยติดตามผลของกิจกรรมการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินโครงการ พบว่า 1) ระยะเวลาในการรับ-ส่งเวรลดลง ร้อยละ 25 และ 2) อัตราความพึงพอใจของบุคลากรในการรับ-ส่งเวร เท่ากับ ร้อยละ 96
จากผลการดำเนินโครงการ แสดงให้เห็นว่า Lean management สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคนิคการสื่อสาร ทำให้สามารถส่งข้อมูล รับ-ส่งเวรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ระยะลดเวลาน้อยลง
References
จรรยา กาวีเมือง. การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 3 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองพยาบาลมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
ประภัสสร มนต์อ่อน. ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการรายงานเปลี่ยนเวรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพุทธโสธร[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
มธุรส ตันติเวสส. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2560; 25:41-51.
รัตนา จารุวรรโณ, จารุภา วงศ์ช่างหล่อ และ ถนิมพร พงศานานุรักษ์. ผลของการสอนการรับส่งเวรโดยใช้เทคนิค SBAR ต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการรับส่งเวรของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15: 390-397.
เดชชัย โพธ์กลิ่น. ประสิทธิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์ที่แผนกผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2559.