ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
Keywords:
โรคเบาหวาน, ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่อำเภอบันนังสตา และมีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของระดับฮีโมโกลบิน (HbA1C) จำนวน 300 คน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C≥7%) จำนวน 150 คน กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ (HbA1C<7%) จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยใช้สถิติทดสอบความถดถอยโลจิสติก (multiple logistic regression)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ (p<0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษามัธยมต้นและต่ำกว่า (ORadj=5.00, 95%CI=1.45-17.19), รายได้ 5,001-15,000 บาท และ ≤ 5,000 บาท (ORadj=1.38, 95%CI=0.27-7.02 และORadj=82.84, 95%CI=12.95-530.03), ระยะเวลาที่ป่วย 5–9 ปี และ 10 ปีขึ้นไป (ORadj=1.35, 95%CI=0.49-3.69 และ ORadj=22.48, 95%CI=4.73-106.80), ระดับความรู้น้อย (ORadj=2.83, 95%CI=1.08-7.42) และระดับพฤติกรรมสุขภาพไม่ดี (ORadj=11.74,95%CI=3.96-34.79)
References
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สองโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):256-268.
Pender, N. J. Health promotion in nursing practice.2nded. East Norwalk, CT: Appleton & Lange; 1987.
รัญชิดา ตันติวรสกุล. ความสามารถในการดูแล ตนเองและภาวะควบคุมโรคในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่].นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.