การดูแลผู้ป่วยจอตาลอกหลังได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตา โดยการใช้ Control chart หรือการวิเคราะห์และปรับปรุงการดูแลโดยใช้ข้อมูลของหน่วยงาน

Authors

  • พิมพ์ลดา ชลสวัสดิ์ Thammasat University Hospital, Thammasat University

Keywords:

ผ่าตัดจอตาลอก, การดูแลผู้ป่วย, การผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตา

Abstract

จากสถิติของหอผู้ป่วยจักษุ พบว่ามีผู้ป่วยผ่าตัดจอตาลอกที่ได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตาเฉลี่ยเดือนละ 42 ราย ซึ่งผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้องได้รับการดูแลโดยเฉพาะการอยู่ในท่าคว่ำหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์[1]  เพื่อให้แก๊สลอยขึ้นไปกดบริเวณตำแหน่งที่มีการลอกของจอตา  และดันรอยฉีกขาดของจอตาให้กลับมาติดกับชั้น retinal pigment epithelium (RPE)[2]  การคว่ำหน้าต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มากกว่าหรือเท่ากับ 16 ชั่วโมงต่อวัน[3]  เทคนิคการนอนคว่ำหน้า  ควรนอนคว่ำหน้าประมาณ 45 นาที  สลับกับนอนตะแคงหรือนอนหงายไม่เกินครั้งละ 15 นาที[4]  หากผู้ป่วยปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง จะทำให้จอตาไม่ติดกลับ หรือเกิดจอตาลอกซ้ำ จากการปฏิบัติงานพบว่า  ผู้ป่วยมากกว่า 95% ต้องการการดูแลและได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม  

References

สุนทรี ธิติวิเชียรเลิศ, กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล. เอกสารประกอบการบรรยาย การดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยใน [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tec.in.th/news/news_170556_05.pdf

ไพบูลย์ บวรวัฒนดิลก. การผ่าตัดทางจักษุวิทยา. ใน: ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล. ตำราพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิมพ์ดี กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2551. 118-137.

สุพรรณิการ์ แก้วมณี, สุภา สุรเศรณีวงศ์. การคว่ำหน้าหลังการผ่าตัดใส่แก๊สหรือน้ำมันซิลิโคนในลูกตา [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ramanursing/sites/default/files/public/pdf/public/3.การคว่ำหน้า%20แก้ไข.pdf

ศูนย์ตา ธรรมศาสตร์. คำแนะนำการนอนคว่ำหน้าหลังผ่าตัดจอประสาทตา (Face down position) [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tec.in.th/ flap/flap9.pdf

องุ่น น้อยอุดม. การดูแลผู้ป่วยที่ต้องอยู่ในท่าก้มหน้าภายหลังได้รับการฉีดแก๊สเข้าไปในน้ำวุ้นตา [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://tci-thaijo.org/index.php /RNJ/article/download/105182/119650/

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. สื่อสำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง: Run Chart & Control Chart [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://hacc.kku. ac.th/haccupload _news/pdftitle/Tue84928MjRAkLS.pdf

Line Corporation. Line@ การเปิดบัญชีใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://lineforbusiness.com/th-en/service/line-oa-features

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). การใช้ Control chart ในการพัฒนาคุณภาพงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sskh. moph.go.th/ha/docha/09-08-18160640.pdf

ทนง ประสานพานิช. บทความฟื้นวิชา แผนภูมิควบคุม (Control chart) กับงานประจำ. วพปก. 2555; 29(3):236-244.

Downloads

Published

2020-12-01

How to Cite

1.
ชลสวัสดิ์ พ. การดูแลผู้ป่วยจอตาลอกหลังได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตา โดยการใช้ Control chart หรือการวิเคราะห์และปรับปรุงการดูแลโดยใช้ข้อมูลของหน่วยงาน. TUHJ [Internet]. 2020 Dec. 1 [cited 2024 Dec. 23];5(3):56-60. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/247716

Issue

Section

Special Articles