ผลการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นต่อการลดความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัส

Authors

  • Piyanan Anantayot Thammasat University Hospital, Thammasat University

Keywords:

ลดความปวด, ประคบเย็น, บริหารจัดการความปวด

Abstract

         งานการพยาบาลผู้ป่วยหู คอ จมูก    ทันตกรรมและศัลยกรรมช่องปาก  ได้ให้บริการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางด้านหู คอ จมูก ช่องปากและทันตกรรม  จากการเก็บข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมารับบริการผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัสด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (endoscopic sinus surgery: ESS)  ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกและไซนัสมีจำนวน 20 - 25  รายต่อเดือนคิดเป็นร้อยละ 60  โดยหลังผ่าตัดประมาณ 24-48 ชั่วโมงแรก  แพทย์จะใส่อุปกรณ์ห้ามเลือดภายในโพรงจมูกและผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดแผลมาก  ความปวดนี้เป็นความปวดแบบเฉียบพลัน  ในการบรรเทาอาการปวดที่ให้กับผู้ป่วยมีทั้งแบบการใช้ยาและไม่ใช้ยา  โดยการลดปวดแบบไม่ใช้ยาเป็นบทบาทอิสระของพยาบาล  โดยการใช้ความเย็นซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการลดความปวดเฉพาะที่

References

กรีฑา ม่วงทอง ประสิทธิ์ มหากิจ และคณะ. ตำราหู คอ จมูก. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2549.

สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ. Pain assessment and measurement [อินเตอร์เน็ต]. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ; 2558. เข้าถึงได้จาก: https://dokumen.tips/documents/pain-assessment-and-measurement-13-severe.html

Downloads

Published

2021-11-24

How to Cite

1.
Anantayot P. ผลการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นต่อการลดความปวดและความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังผ่าตัดโพรงจมูกและไซนัส. TUHJ [Internet]. 2021 Nov. 24 [cited 2024 Nov. 23];6(3):48-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/254722

Issue

Section

Special Articles