สถานการณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

Main Article Content

ปิยะดา ประเสริฐสม

Abstract

สถานการณ์ประชากรที่กําลังเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มของการเข้าสู่ “สังคม ผู้สูงอายุ (Aging Society)” ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ ชัดเจนทั่วโลก สําหรับประชากรไทยซึ่งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก 62.2 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 72.3 ล้านคน ในปี 2568 โดยโครงสร้าง ประชากรมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็น ร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรเด็ก (0-14 ปี) มีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 24.2 ในปี 2568 ทั้งนี้ พบว่า ประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 4 ประเทศ คืออิตาลี ญี่ปุ่น กรีซ เยอรมันนี และ สวิตเซอร์แลนด์ อายุขัยเฉลี่ยของผู้สูงอายุใน ญี่ปุ่นจะสูงสุดในโลก คือ 82 ปี แม้ว่าในประเทศ ไทยจะมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุค่อนข้างต่ำเมื่อ เทียบระดับโลก หากแต่ในภูมิภาคเอเชีย ประชากร ผู้สูงอายุไทยอยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าพิจารณา ปัจจัยภายในประเทศไม่ว่าจะเป็นอัตราเจริญพันธุ์ รวมของหญิง 1 คน มีอัตราน้อยกว่าระดับทดแทน (1.7 คน) โดยมีแนวโน้มลดลงจากอดีตและคาด ว่าจะลดลงอีกในอนาคต อายุขัยเฉลี่ยของคนไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบว่า ในพ.ศ. 2546 ชายไทยมีอายุขัยเฉลี่ย 68 ปี และหญิงไทยมีอายุขัยเฉลี่ย 75 ปี 1


การที่ผู้สูงอายุมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น หาก แต่คงมีผู้สูงอายุจํานวนไม่น้อยที่ดํารงชีวิตอยู่ด้วย คุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ผู้สูงอายุร้อยละ 50.5 มีโรคประจําตัวหรือโรคเรื้อรัง พบว่า หญิงจะมี - ปัญหามากกว่าชาย 2 ในการประเมินผลงาน


ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พบว่า มีผู้สูงอายุที่ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ร้อยละ 13 โดย พบมากที่สุดในภาคกลาง คือร้อยละ 23.3 รองลง มา คือภาคใต้ ร้อยละ 13.8 กลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ เป็นผู้ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็น ภาระต่อปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศโดยภาพรวม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
ประเสริฐสม ป. สถานการณ์สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ. Th Dent PH J [Internet]. 2005 Dec. 26 [cited 2024 Jul. 18];10(1-2):73-8. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/212859
Section
Review Article

References

1 สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ประชากรโลก : ประชากรไทย 2547 ; กรกฎาคม 2547.
2 สํานักงานสถิติแห่งชาติ การสํารวจอนามัยและสวัสดิการ 2546
3 สํานักที่ปรึกษา กรมอนามัย. รายงานเบื้องต้นการทบทวนวรรณกรรม เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : สุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ, ธันวาคม 2547
4. ชาญชัย โห้สงวน, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ศรีสุดา ลีละศิธร, ปิยะดา ประเสริฐสม. รายงานการวิจัยการ ศึกษาระยะยาวทางระบาดวิทยาของสภาวะทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงของโรคในช่องปากของผู้สูงอายุ ในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานครฯ. 2544
5. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผล การสํารวจสภาวะทันต สุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2543-2544. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ)
6. International Agency for Research on Cancer/World Health Oraganization, Cancer Research for Cancer Control; Lyon. 1997.
7. International Agency for Research on Cancer/World Health Oraganization, Cancer survival in Developing countries, IARC Scientific Publications No. 145, Lyon, 1999.
8. World Health Oraganization/ International Agency for Research on Cancer: Thailand., Cancer in Thailand Vol 2, 1992-1994, Lyon, 1997.