การศึกษาสถานการณ์ การเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุ ในเด็กปฐมวัย พ.ศ.2547

Main Article Content

บุบผา ศรีสุดา
สุรางค์ สุภาวดี
ไตรโรจน์ สีละศิธร
เชษฐพฤนท์ พรหมมา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่มีผลต่อการเกิด โรคฟันผุของเด็กปฐมวัยในภาพรวมของประเทศ และปรับปรุงข้อมูลการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ทันสมัย เป็นการศึกษาเชิงสํารวจ ภาคตัดขวาง (Cross Sectional Survey) ใน 5 จังหวัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กที่มีเด็ก อายุ 1 ปี (1 ปี ถึง 1 ปี 11 เดือน 29 วัน) จํานวน 802 คน และผู้ปกครองที่มีเด็ก อายุ 4 ปี (4 ปี ถึง 4 ปี 11 เดือน 29 วัน) จํานวน 797 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มอายุ 1 ปี และ 4 ปี มีฟันผุ ร้อยละ 10.16 และ ร้อยละ 69.03 ตามลําดับ เด็กอายุ 1 ปี ที่อยู่ในการเลี้ยงดูของ บิดา หรือมารดา หรือทั้งบิดาและมารดา ร้อยละ 54.73 และเมื่อเด็กโตขึ้นจะอยู่กับบิดาหรือมารดาลดลง คือ ร้อยละ 39.6 พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในเรื่อง การกินอาหาร การแปรงฟัน และการตรวจฟันเด็ก ยังไม่เหมาะสม คือ ร้อยละ 85.28 ของเด็กอายุ 1 ปี ยังไม่เลิกนมมื้อดึก ร้อยละ 85.81 ของเด็กอายุ 1.5 ปี ยังไม่เลิกกินนมขวด เด็กอายุ 1 ปี กินนมรสหวาน ร้อยละ 44.73 โดยที่เด็กอายุ 4 ปี กินนมรสหวาน เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 66.52 และเด็กอายุ 4 ปี กินขนมมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 51.72 ในเด็ก อายุ 1 ปี ผู้ปกครองแปรงฟันให้ทุกวัน ร้อยละ 44.81 แต่กลุ่มเด็กอายุ 4 ปี ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง ร้อยละ 68.41 นอกจากนี้พบว่า เด็กได้รับการตรวจฟันอย่างสม่ําเสมอจากเจ้าหน้าที่ไม่มากเท่าที่ควร คือ เด็กอายุ 1 ปี ได้รับการตรวจทุกครั้งเมื่อไปรับวัคซีน ร้อยละ 16.21 และเด็กอายุ 4 ปี ได้รับการตรวจฟัน ปีละครั้ง ร้อยละ 34.65 จากการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุของเด็ก อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (sig, as Asymp. < 0.05) ในกลุ่มเด็กอายุ 1 ปี ได้แก่ การกินนมขวด รสนม ที่เด็กกิน การใช้ยาสีฟันในเวลาแปรงฟันและการได้รับการตรวจฟันโดยเจ้าหน้าที่/หมอฟัน ส่วนในกลุ่มเด็ก อายุ 4 ปี เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแปรงฟัน การกินขนม และการได้รับการตรวจฟันจากเจ้าหน้าที่ / หมอฟัน

Downloads

Article Details

How to Cite
1.
ศรีสุดา บ, สุภาวดี ส, สีละศิธร ไ, พรหมมา เ. การศึกษาสถานการณ์ การเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุ ในเด็กปฐมวัย พ.ศ.2547. Th Dent PH J [อินเทอร์เน็ต]. 26 ธันวาคม 2005 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];10(1-2):29-3. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/212842
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2537 ประเทศไทย โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จํากัด 2538
2. เพ็ญทิพย์ จิตต์จํานงค์ และคณะ การประเมินโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน 0 - 3 ปี ระดับประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2537 กรุงเทพฯ , โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก 2538
3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2543 – 2544 โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จํากัด 2545
4. ทรงธรรม สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ระวีวรรณ ปัญญางาม การเปรียบเทียบสถานภาพโรคฟันผุของเด็ก 3 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครที่บริโภคนมรสธรรมชาติและนมปรุงแต่งรสหวานว.ทันต. ฉบับที่ 4 กค. - สค. 2539: หน้า 196 – 201
5. จันทนา อึ้งชูศักดิ์ และคณะ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการทบทวนสถานการณ์ปัญหาและองค์ความรู้ เรื่องฟันผุในฟันน้ํานม เอกสารโรเนียว 2547
6. วิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์ โครงการแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน โดยแกนนําสตรี อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ช่วยลูกรักฟันดี ไม่ระบุที่พิมพ์ 2547
7. วรรณศรี แก้วปินตา ทองเพ็ญ วันทนียตระกูล ยุพิน สรีแพนบาล พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของ ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3 - 5 ปี อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ทันตสาร ฉบับที่ 2 กค. - ธค. 2538
8. บุบผา ไตรโรจน์ และคณะ รายงานการวิจัย เรื่อง กระบวนการดําเนินงานโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน เอกสารโรเนียว 2542
9. พรพรรณ สุนทรธรรม และคณะ การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้ยาสีฟัน และการแปรงฟันในเด็ก วิทยาสารทันตสาธารณสุข ฉบับที่ 1 -2 มค. - ธค. 46 ; 7 - 17
10. บุบผา ไตรโรจน์ และคณะ รายงานการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นข้อเสนอ เชิงนโยบาย เอกสารโรเนียว 2548.