Legal Measures to Regulate Advertising of Eye Health Supplement

Authors

  • Praphrut Chatprapachai Lecturer of Law at Assumption University

Keywords:

food supplements, eyes, legal measures

Abstract

Dietary supplement products become popular in present, especially eye health supplement.
This is because eyes are important organ and ophthalmologists are relatively few compared to
population. As a result, manufacturers try to propagandize the advertisements for maximum
profit. Many times, the advertisements are exaggerated or fall into the scam. Therefore, a variety
of legal measures are required, which includes Consumer Protection Act, Food Act, Computer
Crime Act, Act on the Organization to Assign Radio Frequency and to Regulate the Broadcasting
and Telecommunication Services, Penal Code, Anti-Money Laundering Act and ethical regulations
of the Medical Council. Cooperation from government agencies that have power to enforce the
laws to regulate these advertisements is also essential to safeguard and protect consumers from
being deceived by advertising.

References

อัญชลี จินตพัฒนากิจ. ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม. คณะเภสัชศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/10/th/index.php. Published March 2010. Accessed February 10, 2021.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์. ‘แสงสีฟ้า’ อันตราย! เร่งจอประสาทตาเสื่อม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://tu.ac.th/thammasat-med-expert-talk-eyes-blue-light-hazard. Published September 2020. Accessed February 9, 2021.

กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจักษุวิทยาของบัณฑิตแพทย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.TTJO. 2015;10(2):13-14. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/eyesea/article/download/47145/39068/. Accessed February 10, 2021.

Prawpan Suriwong. อย่าหลงเชื่อ อาหารเสริมรักษาต้อตา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th/Content/33779-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%

AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B2.html Published November 2016. Accessed February 11, 2021.

สอดคล้องกับคำประกาศสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค (Consumer Bill of Rights) ของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศ โดยประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ (John F. Kennedy) เมื่อ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2505 ต่อสภาคองเกรส ซึ่งวันที่ 15 มีนาคมของทุกปียังถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” (World

Consumer Rights Day) อีกด้วย, สืบค้นได้ที่ https://www.consumersinternational.org/what-we-do/worldconsumer- rights-day/ และ https://www.mass.gov/service-details/consumer-bill-of-rights. Accessed February 11, 2021.

โปรดดู พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาอาหาร พ.ศ. 2564 เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าโฆษณาที่ “...เป็นเท็จหรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร...” ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.

นั้นหมายรวมถึง (1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง (2) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคความเจ็บป่วย หรืออาการของโรค (3) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย หน้าที่การทำงานของ

อวัยวะ หรือระบบการทำงานของร่างกาย (4) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าบำรุงกาม บำรุงเพศ หรือเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (5) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่าเพื่อบำรุงผิวพรรณหรือเพื่อความสวยงาม (6) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการลดน้าหนักหรือลดความอ้วน เว้นแต่กรณีอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 121 (พ.ศ. 2532) เรื่อง อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักที่ได้รับอนุญาตจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (7) ข้อความที่สื่อหรือแสดงให้เข้าใจว่ามีผลต่อการกระชับสัดส่วนดักจับไขมัน หรือข้อความอื่นใดในทำนองเดียวกัน (8) การโฆษณาที่มีการใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ ที่ยังไม่ผ่านการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพจากสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้แสดงตัวอย่างของคำโฆษณาที่เข้าลักษณะข้างต้นไว้ในบัญชีหมายเลข 1 ของประกาศดังกล่าว, สืบค้นได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/073/T_0014.PDF. Accessed April7, 2021. อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่า ประกาศดังกล่าวเป็นเสมือนการรวบรวมถ้อยคำโฆษณาที่ อย. เคยตัดสินหรือเห็นว่าไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ผลิต

ที่มีเจตนาไม่สุจริตอาศัยช่องโหว่ของถ้อยคำตัวอักษร คิดค้นคำโฆษณาในรูปแบบอื่น ๆ ขึ้นมาเพื่อหลอกลวงผู้บริโภคต่อไป

ทั้งนี้เป็นไปตามขอบเขตอำนาจของ กสทช. ที่กำหนดไว้ในมาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ปรากฎตามสื่อวิทยุ

โทรทัศน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือ OTT (over the top)เป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจึงเห็นว่า กสทช. ควรจะมีบทบาทเข้ามากำกับดูแลสื่อวิทยุโทรทัศน์บนอินเตอร์เน็ตด้วยเนื่องจากเป็นองค์กรที่มีเครื่องมือและบุคลากรพร้อม อีกทั้ง มาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ก็ได้เปิดช่องให้ กสทช. มีอำนาจกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ส่งผ่านสัญญาณไปยังเครื่องรับในหลากหลายระบบ ไม่จำกัดเฉพาะแต่ระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสงหรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ เท่านั้น แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนในฐานะที่เป็นอนุกรรมการ กสทช. พบว่าในทางปฏิบัติ อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตตกอยู่กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เสียเป็นส่วนใหญ่

ก่อนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ศ.2560 นั้น มาตรา 14 (1) มักถูกนำมาใช้กับการหมิ่นประมาททางออนไลน์ เช่น การโพส การคอมเม้น การเผยแพร่คลิปเสียง คลิปวิดีโอ ภาพแคปจากหน้าจอการสนทนา ฯลฯ ที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเสียชื่อเสียง ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของ พรบ. นี้ และส่งผลกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพในการแสดงออกที่รัฐธรรมนูญรับรองเพราะมาตรา 14 (1) นี้มีอัตราโทษสูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นฐานความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 (1) เพื่อไม่ให้นำมาใช้กับความผิดฐานหมิ่นประมาทอีกต่อไป

มาตรา 2 (8) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 บัญญัติว่า ผู้ใด (1) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้

ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ (2)กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใดๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด (3) ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สิน โดยรู้ในขณะที่ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

isranews. รถหรู ที่ดิน เงินสด 65.8 ล.! ทรัพย์สิน ‘ตรีชฎา’บ.เมจิกสกิน กับพวก โดน ปปง.อายัด. สำนักข่าวอิศรา. https://www.isranews.org/isranews-news/74577-news-74577.html. Published March 2019. Accessed February 11, 2021.

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ข้อ 44

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 ข้อ 45

มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525

โปรดดู ข้อ 7 (6) (9)ของข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2549

หมายถึง สภาวะที่บุคคลไม่สามารถประมวลผล ประเมินหรือตัดสินใจเนื่องจากได้รับข้อมูลมากจนเกินไป โปรดดู PaulHemp. Death by Information Overload. Harvard Business Review. https://hbr.org/2009/09/death-byinformation-overload. Published September 2009. Accessed February 13, 2021.

Downloads

Published

2020-12-01

Issue

Section

Perspective