การศึกษาวิธีการขับร้องเพลงระบำสี่บท ทางอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน

Main Article Content

สวรรยา ทับแสง
นัฏฐิกา สุนทรธนผล

Abstract

             การศึกษาวิธีการขับร้องเพลงระบำสี่บท ทางอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบในการขับร้องเพลงระบำสี่บทของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน 2. เพื่อศึกษาเทคนิคลีลาการขับร้องเพลงระบำสี่บทของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน อันประกอบด้วยเพลงพระทอง เบ้าหลุด สระบุหร่งและบลิ่ม ด้านวิธีการขับร้องศึกษาเกี่ยวกับความหมายบทขับร้อง ลักษณะบทขับร้อง การแบ่งวรรคตอนบทขับร้อง อารมณ์ในบทขับร้อง ตำแหน่งและช่วงลมหายใจ จังหวะ ด้านเทคนิคลีลาศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคลีลาในการเอื้อนและการเปล่งเสียงคำร้อง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากตำราวิชาการ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลจากการบันทึกเสียงการขับร้องของอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน และข้อมูลการสัมภาษณ์ศิษย์อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน

              จากการศึกษาวิธีการขับร้องเพลงระบำสี่บท ทางอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน พบว่า 1. เพลงระบำสี่บทเป็นเพลงท่อนเดียว แต่ละเพลงมีทำนองร้องที่มีเอกลักษณ์ต่างกัน การขับร้องเพลงระบำบทขับร้องเป็นกลอนบทละคร มีการแบ่งวรรคตอนเช่นเดียวกับกลอนสุภาพหรือกลอนแปด เนื้อหากล่าวถึงการเกี้ยวพาราสีของเหล่าเทวดานางฟ้าที่ร่ายรำด้วยความสง่างามและอ่อนช้อย การหายใจต้องกระทำให้ถูกตำแหน่งและคำนวณลมหายใจที่เหมาะสม หน้าทับกลองได้แก่ พระทอง นางไห้ ลงสรงแถมและขึ้นม้าตามลำดับเพลง 2. เทคนิคลีลาในการเอื้อน ได้แก่ การครั่น การกระทบ การเอื้อน 3 เสียง การแผ่วเสียง การใช้เสียงหนัก - เบา การใช้หางเสียง การใช้เสียงนาสิก และเทคนิคลีลาในการเปล่งเสียงคำร้องมีวรรณยุกต์เป็นตัวแปรในการเลือกสรรการใช้เทคนิคลีลา ได้แก่การกระทบ การเอื้อน 3 เสียง การประคบเสียง การแผ่วเสียง การใช้เสียงหนัก - เบา การใช้หางเสียง การใช้เสียงนาสิกให้การขับร้องเพลงระบำสี่บทมีความไพเราะ

 

             The purpose of “A Study of Rabam Si Bod Singing Techniques of Charoenjai Sundaravadin” is to 1) study the singing method of Charoenjai Sundaravadin, and 2) to study singing technique and style of Rabam Si Bod of Charoenjai Sundaravadin. Rabam Si Bod consists of Prathong song, Baolud song, Sraburong song, and Balim song. On singing method, this research studied the meaning of the lyric, character of the lyric, division of phrase, lyric emotion, breathing location, and tempo and rhythm. On singing technique and style this research studied the technique and style in ad-lib and lyric formation. This research is qualitative research approach, collecting information from documents and research, printing materials, and information from voice record of Charoenjai Sundaravadin and the interview information of Charoenjai Sundaravadin.

             From the Study of Rabam Si Bod Singing Techniques of Charoenjai Sundaravadin, it is found that 1) Rabam Si Bod is a single section song. Each song has different character and melody. Rabam Si Bod singing is sung as a play story, phrasing them similarly to the “Klon Supap Poem” (8-words poem), or “Klon Pad” or 8-words poem. The song tells of the courtship of the angels which dances beautifully and delicately. In singing, the breathing must be in correct location and breath-in the right amount of air. The tempo and rhythm used are such as Prathong, Nang Hai, Long Song Tam, and Kuen Ma respectively. 2) Singing technique and style used are such as “Krun” (a type of ad-lib), “Kra Tob”, 3 voices ad-lib, lower voice, using forte-piano, ending voice, and nasal voice. The pronunciation technique and use of style is dictated by tone indicator and use the appropriately in order to sing RABAM SI BOD beautifully.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ