คู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ราชัน คำบุญเรือง
มนต์นภัส มโนการณ์
ยงยุทธ ยะบุญธง

Abstract

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย 1) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ ผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติงานพัสดุและผู้รับบริการงานพัสดุ รวม 18 คน 2) การตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ จำนวน 5 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบ การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสังเกตการณ์นำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุไปปฏิบัติ 4) แบบบันทึกประชุม 5) แบบตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ 6) แบบบันทึกกิจกรรมการถอดบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) นำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย

             ผลการศึกษาพบว่า

               1. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สภาพ ปัญหาการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ครั้งที่ 1 ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการลงบัญชีหรือทะเบียนคุมพัสดุ มีการปฏิบัติแต่ไม่ยังถูกต้อง ทำให้ลงทะเบียนคุมพัสดุไม่ครบถ้วนและการค้นหาพัสดุในทะเบียนคุมใช้เวลานาน 2) ด้านการเก็บรักษาพัสดุ มีห้องสำหรับเก็บพัสดุที่แข็งแรงและมิดชิดแต่วางวัสดุ ครุภัณฑ์รวม ๆ กัน ไม่ได้แยกประเภท 3) ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ มีหลักฐานการเบิกจ่ายพัสดุแต่บางรายการไม่ถูกต้อง 4) ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปี มีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ล่าช้าและไม่มีคู่มือการปฏิบัติงานและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ครั้งที่ 1 ได้แก่ (1) การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (2) มีวิทยากรจากภายนอกมาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมพัสดุในโรงเรียน (3) มีการติดตามการบริหารงานการควบคุมพัสดุอยู่สม่ำเสมอ

               สภาพ ปัญหาการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ครั้งที่ 2 ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการลงบัญชีหรือทะเบียนคุมพัสดุ มีการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 2) ด้านการเก็บรักษาพัสดุ มีการแยกประเภทและชนิดของวัสดุและครุภัณฑ์ออกจากกัน 3) ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ มีการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 4) ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปี มีการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีคู่มือการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ ครั้งที่ 2 ได้แก่ (1) ปรับปรุง ขยายห้องพัสดุ (2) การบริหารงานการควบคุมพัสดุที่รวดเร็ว

               2. ผลการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้คู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุที่มี 3 ส่วน 8 องค์ประกอบได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1) วัตถุประสงค์ 1.2) ขอบเขต 1.3) คำจำกัดความ 1.4) หน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนที่ 2 แนวทางการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุ 2.1) ระเบียบปฏิบัติ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2.2) เอกสารอ้างอิง ส่วนที่ 3 ภาคผนวก 3.1) แบบฟอร์มที่ใช้ 3.2) เอกสารบันทึก และขั้นตอนการควบคุมพัสดุตามบริบทของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง

               3. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของคู่มือการปฏิบัติงานการควบคุมพัสดุของโรงเรียนอนุบาลบ้านท่อเมืองลัง จังหวัดเชียงใหม่ มีความถูกต้องของเนื้อหาอยู่ในระดับมาก และด้านความเหมาะสมต่อ การนำไปปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 

 

            This study aimed 1) to study conditions, problems and suggestions on inventory control practices of Baan Tor Muang Lang School, Chiang Mai Province, 2) to create inventory  control handbook by participatory action research, and 3) to confirm the quality of the inventory control handbook  of Baan Tor Muang Lang School ,Chiang Mai Province. The samples 1) create inventory  control handbook included 18 practitioners of inventory practice 

and service receivers, 2) confirm the quality of the inventory  control handbook included 5 practitioners of expert inventory  control, and the sample were 23 practitioners of inventory practice and service receivers. The instrument for data collection employed with: 1) workshop handouts 2) in-depth interviews 3) observation of handbook implementation which was analyzed the information by content analysis, and 4) meeting record form which was analyzed by the descriptive meeting summary 5) quality confirm form 6) lesson learn activity form. Analyzed the information by content analysis mean ( ) and standard deviation ( ), then reported as the table with the description.

               The finding revealed as follows:

               1. The conditions, problems and suggestions for the operation of inventory control of Baan Tor Muang Lang School, Chiang Mai Province found that the conditions and problems of inventory control at the 1st time in 4 aspects; 1) Registration of inventory control record as the practices of inventory control was incorrect; therefore, the inventory items were not completely recorded and spent long time to search for. 2) Inventory storage as there was a room for storing items that was strong and was fully enclosed, but the materials were not classified in categories. 3) Inventory dispatch as there was an evidence of disbursement, but some items were incorrect. 4) Annual inventory as there was an incorrect practice, delayed and had no operational manual. The suggestions for the operation of inventory control 1st time were (1) Create the operation of inventory control manual which provides well-defined practical guideline. (2) Invite experts in operation of inventory control for training. (3) Regularly monitor the administration of operation of inventory control.

               The conditions and problems of inventory control 2nd time in 4 aspects; 1) Registration of inventory control record as the practices of inventory control was correct. 2) Inventory storage as there was the classification between types of materials and materials. 3) Inventory dispatch as the practices of inventory control was correct. 4) Annual inventory as there was a correct practice, inventory control handbook. The suggestions for the operation of inventory control at the 2nd time were (1) Improve and renovate the inventory control room. (2) Fast Inventory Management.

              2) The results in working on inventory control handbook of Baan Tor Muang Lang School, Chiang Mai by participatory action research succeeded as the handbook with 3 parts,  8 elements as follows: The first part,Introduction part consisted of 1.1) objectives,1.2) Delimitations, 1.3) definitions and 1.4) roles and responsibilities. The second part, Practical Guide of operation of inventory control consisted of 2.1) the regulation and standard procedure, 2.2) references. The third part, Appendix part consisted of 3.1) official forms, 3.2) recorded documents and procedures of operation of inventory control of Baan Tor Muang Lang School.

              3) The analysis of the efficiency of inventory control handbook of Baan Tor Muang Lang School, Chiang Mai had the accurate content at the high level and the appropriateness of implementation was at the high level  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ