รูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพอาจารย์นิเทศก์ และอาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการเป็นพี่เลี้ยงวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง
อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร
นภาเดช บุญเชิดชู
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมศักยภาพอาจารย์นิเทศก์และอาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเป็นพี่เลี้ยงวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อทดลองใช้ และศึกษาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบ และศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การวิจัยนี้ประยุกต์แบบแผนของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ คือ อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 7 คน อาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 31 คน และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจำนวน 31 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า   ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ  คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการของรูปแบบ4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2 การวางแผน ระยะที่ 3 การปฏิบัติตามบทบาทของพี่เลี้ยงทางวิชาการ ระยะที่ 4 การประเมินความก้าวหน้าของการปฏิบัติการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ เงื่อนไขของการใช้รูปแบบ และผลที่เกิดขึ้นตามรูปแบบ

            2) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความสามารถด้านการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการของอาจารย์นิเทศก์และอาจารย์พี่เลี้ยงก่อน และหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความสามารถด้านการจัดประสบการณ์/จัดการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู ก่อน และหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจของพี่เลี้ยงทางวิชาการที่มีต่อการใช้รูปแบบทั้ง

จากการประเมินของอาจารย์นิเทศและอาจารย์พี่เลี้ยง พบว่า ภาพรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.84, S.D. = 0.35) และความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการใช้รูปแบบ พบว่าภาพรวมทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (  = 4.37, S.D. = 0.71)

            3) แนวปฏิบัติที่ดีในการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ ประกอบด้วยการมี ภาพลักษณ์ (Appearance)กิจลักษณ์ (Performance) และการแสดงศักยภาพการปฏิบัติงานในวิชาชีพครู (Potential) ของพี่เลี้ยงทางวิชาการ

 

              The purposes of this research were to develop an enhancement model with great potential for Teacher supervisors and cooperating teachers to be mentors for student teachers ; study the effectiveness of the model ; study the ratio of satisfaction on the model from the supervisors and teachers ; investigate the students’ satisfaction on the model ; and examine the best practice for increasing the mentorship abilities. The researchers applied the stage-study from a participatory action research, research and development, mixed method as well. The sample comprised of 7 supervisors, 31cooperating teachers and 31 student teachers. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test and content analysis. The results were shown as follows:

               1) The developed model consisted of  principles, objectives and processes divided into 4 phases : Preparing phase ( P1) , Planning phase ( P2), Practicing of Mentors phase ( P3), Progression and Assessment  phase ( P4).

               2) After using the model, the achievement of the teacher supervisors and cooperating teachers on the mentorship abilities was higher significantly at the level of .01. When the student teachers assessed themselves with the supervisors and teachers, it was found that their learning management was higher significantly at the level of .01 Furthermore, satisfaction of the first on using the model was rated at the highest level (  = 4.84, S.D. = 0.35); for which of the latter was the high level (  = 4.37, S.D. = 0.71).

               3) The best practice necessary for being the good mentors was appearance, performance and potential in professional working.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ