การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบ การคลังสินค้าอันตราย

Main Article Content

คมสัน โสมณวัตร

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายกับข้อมูลเชิงประจักษ์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ให้บริการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าอันตรายในประเทศไทย จำนวน 400 คน  วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้รูปแบบการบริการทางด้านการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าอันตรายเป็นเกณฑ์ และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ในการแจกแบบสอบถาม  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ 49 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามระดับความสำคัญของการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตราย มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า

             1)   ความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยที่มีส่งผลต่อการดำเนินการ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติ c2 = 27.133,  c2/df = 0.969, df= 28, p= 0.511, RMSEA = 0.000, RMR = 0.008, GFI = 0.990, AGFI = 0.946, CFI = 1.000 ทั้งนี้ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายได้ร้อยละ 29

              2)  ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายมี 1 ตัวแปรแฝง ได้แก่  มาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย (β = 0.540) และตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการดำเนินการและประสิทธิภาพของผู้ประกอบการคลังสินค้าอันตรายมี 2 ตัวแปร ได้แก่ 1) การจัดเก็บสินค้าอันตราย (β =0.167) โดยส่งผ่านตัวแปรมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าอันตราย และ 2) การขนส่งสินค้าอันตราย (β =0.301)  โดยส่งผ่านตัวแปรมาตรการความปลอดภัยในการขนส่งสินค้า

 

            The purpose of this research were to examine the consistency of factors affecting the operation and performance of dangerous goods warehouse operators by empirical data. The samples research is 400 service officers in dangerous goods transport and storage company in Thailand by cluster random sampling of transport service model and hazardous goods storage and use sample random sampling of distribution of questionnaires. The research was consisted of 4 latent variables contain with 49 variables. The instrument of this research is questionnaire in order to check the operation and performance of dangerous goods warehouse operators priority and the alpha coefficient reliability was 0.98. Structural equation modeling was used for data analysis. The results of the research were as follows :

               1.  The causal model fits with the empirical data affecting the operation and performance of dangerous goods warehouse operators, the results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a Chi-square test of goodness of fit  (c2 = 27.133, c2/df=0.969, df =28, p = 0.511, RMSEA = 0.000, RMR = 0.008, GFI = 0.990, AGFI = 0.946, CFI = 1.000  in that way, all variables showed by the empirical data and model accounted for 29 percent of variance on operation and performance of dangerous goods warehouse operators.

               2.  There is only latent variable has a statistically significant directly effecting on operation and performance of dangerous goods warehouse operators were safety measures for the transport of dangerous goods (β = .540). Other 2 latent variables have an indirect impact on operation and performance of dangerous goods warehouse operators were 1) Storage of dangerous goods (β =0.167) affecting through Safety measures for the transport of dangerous goods and 2) Dangerous goods transportation (β =0.301) affecting through Safety measures for the transport of dangerous goods.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ