การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว คลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

จิราพร ไชยเชนทร์
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสภาพการณ์ การประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์  4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ออกแบบและพัฒนา ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์ แนวทางการสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า1) การศึกษาสภาพการณ์การประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนมีการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมที่อยู่ในรูปของทุนที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น มาเป็นตัวเชื่อมโยงในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2) การพัฒนารูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ ได้รูปแบบมีชื่อเรียกว่า “LINGKANG Model” ประกอบด้วย (1)ภูมิปัญญา (L = Local Wisdom) (2) อัตลักษณ์ชุมชน (I = Identity Community) (3) ทุนธรรมชาติ (N = Natural Capital) (4) การเอาใจใส่ดูแล (G = Gallant) (5) การจัดการความรู้ (K = Knowledge Management) (6) การประยุกต์ (A = Apply) (7) เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (N = Networking) (8) การทำซ้ำเพื่อความเจริญงอกงาม (G = Germination) 3) การทดลองใช้รูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์  ผลการทดลองเปรียบเทียบความรู้ของผู้เกี่ยวข้อง พบว่า มีความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์หลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดลองเส้นทางกิจกรรมการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ เส้นทางกิจกรรมมีการสะท้อนวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชุมชนได้อย่างชัดเจนและตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก และปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การบริหารจัดการชุมชนโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การสร้างเครือข่ายกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ศักยภาพของผู้นำ การรักษาวิถีชีวิตที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ และการอนุรักทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน

 

             This developmental research had the following objectives : 1) To study the circumstances in application of social capital to promote creative tourism at Klong Roi Sai 2) To develop an application model for social capital to promote creative tourism at Klong Roi Sai 3) To pilot the application model for social capital to promote creative tourism at Klong Roi Sai 4) To evaluate, assess, and improve the application model for social capital to promote creative tourism at Klong Roi Sai. The research process consisted of 4 steps : the first step is to study the fundamental informations, the second step is to design and develop the model, the third step had the implementation and the forth step is to evaluate and improve.The investigative tools included questionnaires, individual and group interviews s well as data collection and statistical analysis by computer. The statistic used in this study comprised of frequency, average, percentage, standard deviation, t-test dependent and content analysis.

            The results indicated 1) The circumstances surrounding the application of social capital to promote creative tourism at Klong Roi Sai demonstrated that the community already has an applied model for social capital that occurred naturally as well as manmade. It became a connection that promoted tourism by involving members of the community. 2) The development of application model for social capital to promote creative tourism was called the “LINGKANG Model” consisted of (1) L for ‘Local Wisdom’ (2) I for ‘Identity Community’ (3) N for ‘Natural Capital’ (4) G for ‘Gallant’ (5) K for ‘Knowledge Management’ (6) A for ‘Apply’ (7) N for ‘Networking,’ and (8) G for ‘Germination. 3) The pilot of the application model’s result compared the knowledge of the stakeholders and found that knowledge regarding application of social capital for the purpose of promoting creative tourism after the workshop is statistically difference at .05. The results of the application model activities using social capital to promote creative tourism of Klong Roi Sai reflected the daily life and culture of the community clearly and directly responded to the needs of the tourists. 4) The evaluation and adjustments of the application model to utilized social capital to promote creative tourism in Klong Roi Sai revealed that the stakeholders’ perspectives are highly beneficial and the key to success is the community management and involvement of members of the community. The connections between the community and tourist attractions, the quality of leadership, and preservation of its authenticity is crucial as well as the preservation of community’s resources.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ