การพัฒนาเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “เมืองโอ่ง ดินสุกและตุ๊กตา” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเชื่อมโยงสินค้าOTOP และสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองแห่งศิลปะและการพักผ่อนของจังหวัดราชบุรี ปีที่ 2

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
สมบูรณ์ ยืนยงสุวรรณ
สมชาย ลักขณานุรักษ์

Abstract

                    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยต่อเนื่องในปีที่ 2 วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)  ศึกษาแนวทางการสนับสนุนสินค้าโอทอปกับการท่องเที่ยวเมืองแห่งศิลปะและการพักผ่อนของจังหวัดราชบุรี 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าโอทอปของจังหวัดราชบุรี และ 3) ถอดบทเรียนจากการวิจัยในปี 2558-2559  ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ในขั้นตอนที่ 2 ประชากรเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 509,780 คน กลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตาราง Krejcie & Morgan (1970 : 608)  ได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 384 คน สุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน และขั้นตอนที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลหลัก  30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น=.824 แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่า (1) แนวทางการสนับสนุนสินค้าโอทอปกับการท่องเที่ยวเมืองแห่งศิลปะและการพักผ่อนของจังหวัดราชบุรี โดยผู้ประกอบการต้องมีสินค้าที่มีมาตรฐาน รูปแบบและบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ดึงดูดใจ ราคาเหมาะสม ส่วนการท่องเที่ยวต้องจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวทุกวัน ภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Media การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายร่วมกัน (2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าโอทอปของจังหวัดราชบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ (3) ผลการถอดบทเรียนจากการวิจัย จังหวัดราชบุรีมีศักยภาพและความพร้อมเป็นเมืองแห่งศิลปะและการพักผ่อน แต่ควรมีการกระจายสินค้าโอทอปไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ให้ครอบคลุมทั้งของดี ของฝาก ของที่ระลึก อันมีรากฐานทางธรรมชาติและวัฒนธรรมความหลากหลายที่จะบูรณาการเชื่อมโยงกัน


 


                    This were research project in year 2nd and aimed to 1) study the ways of how to support the OTOP goods with the Arts and Leisure City  Tourism of Ratchaburi Province  2) study the satisfaction Lecture Dr, Faculty of Humanity and Social Science, Nakhon Pathom Rajabhat Universityof tourists on the OTOP goods 3) draw up the lesson learnt from the 3 stages of research during the year 2014-2015 : Stage 1 Key informants 30 people used to purposive selection : Stage 2 Population were Thai tourism 509,780 people , Sample size from open by Krejcie & Morgan table (1970 : 608)  sample= 384 people  from proportional stratified sampling : Stage 3 Key informants 30 people used to purposive selection, instruments employed here were questionnaire, guideline of document analysis, guideline of in-depth interviewing, guideline of focus group discussion and guideline for non-participatory observation. The data collection was analyzed and presented into percentage, mean, standard deviation and outcomes of its content analysis. From the results they could be presented as follows: 1) The OTOP goods can be linked with the creative tourism by the way that entrepreneurs should have to produce the standardized products and these should have their various notable features and packages. Also the products should have the attractiveness and reasonable prices. The tourist business should have to arrange the tourist activities daily. The state sector should promote and support to the tourism consecutively through social media, social aggregation and net-working groups 6) The tourist satisfaction was evaluated at much level. 7) From the lesson learnt the province had its potentials and readiness to be the province of creative tourism, art and relaxation. However the OTOP goods such as lagniappes and souvenir gifts well known as “the goods of Dolls and Din City” should be distributed to the other tourist sites and this should be actually and extensively practiced.                              

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ