ชุดความรู้ที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
สุภาภรณ์ พรหมฤาษี
ญัฐธยาน์ ตั้งถาวรสกุล

Abstract

         การวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน  ขั้นตอนที่  1  เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 เป็นการออกแบบและพัฒนาชุดความรู้ที่เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และขั้นตอนที่ 3 จัดทำชุดความรู้ในรูปเอกสาร และคู่มือชุดความรู้ที่เป็นประโยชน์ 5 ด้านได้แก่ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านอาหาร ด้านการแต่งกาย ด้านภาษา ด้านวัฒนธรรมและประเพณี เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์เอกสาร แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัย พบว่า องค์ความรู้ของชุมชนลาวครั่ง ในด้านการดำเนินชีวิตเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง  เป็นชื่อของกลุ่มผู้มีเชื่อสายลาวกลุ่มหนึ่ง ลาวครั่งมักเรียกตนเองว่าลาวหรือลาวขี้คั่ง กลุ่มชนที่มีเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้อพยพมากจากเวียงจันทร์ในสมัยรัชกาลที่ 1 และหลวงพระบาง ในสมัยรัชกาลที่ 3 อาชีพเกษตรกรรม ศิลปกรรมมีการจักสาน การทอผ้า ดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ด้านอาหาร เช่น แกงเปรอะ ข้าวเหนียวแดง (เทศกาลสงกรานต์) กระยาสารท  ด้านการแต่งกาย ผู้หญิงสูงอายุนิยมนุ่งผ้าถุงที่ซื้อจากตลาดแทนผ้าซิ่น ผ้าฝ้าย สวมเสื้อคอกระเช้า จะแต่งตัวเป็นพิเศษในโอกาสวันเทศกาล หรือในงานประเพณี สวมเสื้อลายฉลุ หรือเสื้อตามสมัยนิยม นุ่งซิ่นที่สวยงามมีสีสัน หรือผ้าทอลาวครั่ง ด้านภาษา จัดอยู่ในตระกูลไท-กะได หน่วยเสียงพยัญชนะในภาษาลาวครั่งมี 20 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระมี 18 เสียง หน่วยเสียงวรรณยุกต์มี 5 หน่วยเสียง ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ การก่อพระทราย การแห่ธง ทำบุญกลางบ้าน พิธีเลี้ยงปีเจ้าพ่อ(นาย) สารทเดือนสิบบุญออกพรรษา ขนมจีน สิ่งเด่นๆที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน  ได้แก่ จักรยานโบราณ ลูกปัด ท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ อันเป็นประโยชน์และเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์


            This study was conducted based on the methodology of qualitative research operated on the process of document analysis, in-depth interviewing and focus group discussion. It was divided into   3 serial stages. The first was that all the essential data was explored and analyzed to prepare for the knowledge set linked to creative tourism. The second, based on the earlier data the set was then constructed and developed to be in the document and manual form. The third, when considering intoits details it would focus on the five main issues as the ways of life carried on and inherited among Lao Khangethnic group, his food habits, dressing, cultures and traditions. The research instruments employed here were guideline of in-depth interview, guideline of focus group discussion, guideline of document analysis. The primary and secondary collected data was therefore analyzed with the technique of content analysis.    


             From the results it could be presented as follows:


          -For the way of life, the ethnic group who call his own as Lao Khang people group was therefore studied and depicted. In the record it was found that the group was migrated from Vientiane and LuangPrabang of Laos country and settle down in many areas of the central part of Thailand. These two events were occurred on the early Rattanakosinera of the 1st and 3rd Thai King consecutively.The group has his seen careers in the activities of agricultures and making of handicrafts. The local well known foods are spicy bamboo shoot soup, red sticky rice normally prepared in Songkran festival and Krayasart rice. For the dressing the elderly women like to wear the sarong purchased from market more frequently than the household handmade sarong (Pha Sin). When living in their house they usually wear the round-necked sleeveless collar shirt (KhorKrachaoshirt) and this is made from the cotton fabric. During in the meeting of special festivals and important ceremonies the group will dress his or her body with the beautiful costumes. Some of the mare modern colorful fashion shirts, beautiful sarongs and the Lao Khang handmade sarong. The spoken language is categorized in Tai-Kadi group. The sounds of consonants, vowels and intonation marks have 20, 18 and 5 sounds respectively. The cultures and traditions found here are Songkran festival which has the activities of building up sand mountains and flag sparade, making of the one merit set up in central part of village, the food ceremony praying to respectforhisgods, the ceremony of Tenth Lunar Month and the ceremony of the end of Buddhist Lent. The outstanding identities are classical bicycles, many various colorful beads, the one organic agro-tourism site and the noodle of Ban ThaPra village. These have their benefits and are linked to the creative tourism.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ