รูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ไปรยาวีริณ ศรีประเสริฐ
คณิต เขียววิชัย

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับ ประถมศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม ก่อน หลัง และระยะติดตามผล การใช้รูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้นในระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลของความพึงพอใจในรูปแบบกิจกรรมการเต้นบัลเล่ต์ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ในระดับประถมศึกษา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง


               งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเล็ก กลุ่มตัวอย่างเดี่ยว เก็บรวบรวมข้อมูล เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนดำเนินการตามวิธีวิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่า Split-middle method และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ใช้เวลาทดลอง 12 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที ในแต่ละครั้งประกอบด้วย 1)การอบอุ่นร่างกาย 10 นาที 2)เรียนท่าเต้นบัลเล่ต์ 25 นาที 3) การยืดกล้ามเนื้อ 10 นาที ประเมินท้ายบทเรียนทุกครั้ง เพื่อหาค่าการทดลองอนุกรมเวลา บันทึกพฤติกรรมในรูปแบบ VDO และจดบันทึกในระยะติดตามผล พบว่า ด้านสมาธิจดจ่อ ด้านการควบคุมอารมณ์ และด้านทักษะทางสังคม นักเรียนมีพฤติกรรมแย่ลง ส่วนด้านสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวและด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง นักเรียนมีพฤติกรรมคงที่ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.45)  เมื่อแยกพิจารณา พบว่า ในกลุ่มนักเรียน จำนวน 5 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.8) ส่วนผู้ประเมิน จำนวน 8 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)


               ผลการวิจัยพบว่า


               1. หลังจากนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสมาธิจดจ่อ ด้านการควบคุมอารมณ์ ด้านทักษะทางสังคม ด้านสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวและด้านการเห็นคุณค่าในตนเองในระยะติดตามผล พบว่า ด้านสมาธิจดจ่อ ด้านการควบคุมอารมณ์ และด้านทักษะทางสังคม นักเรียนมีพฤติกรรมแย่ลง ส่วนด้านสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหวและด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง นักเรียนมีพฤติกรรมคงที่


                2.ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.45) เมื่อแยกพิจารณา พบว่า ในกลุ่มนักเรียน จำนวน 5 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.8) ส่วนผู้ประเมิน จำนวน 8 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ