ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา

Main Article Content

รัชนี เกษศิริ
กานต์รวี บุษยานนท์
อัมพร วัจนะ
กิตติศักดิ์ ลักษณา

Abstract

              การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัถตุประสงค์ 1.)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ  2.) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 33 คน รวม 66 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากห้องเรียนทั้งหมด 9 ห้องเรียน มา 2 ห้องเรียน แล้วนำกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจับฉลากแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน  ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4โรงเรียนศึกษานารีวิทยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 33 คน  ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือในการวิจัยแผนการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดของเมโลและลิน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1.) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2.) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ ระดับ .01 3.) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


               In this thesis, the researcher studies (1) academic achievement in Social Studies, Religion and Culture of selected Matthayom Sueksa Five students taught by the problem-based learning technique in relation to the desirable characteristic of seeking knowledge. The researcher also compares (2) the academic achievement of students taught by traditional methods and those instructed by the problem-based learning technique. The sample population consisted of 66 Matthayom Sueksa Five students enrolled in the first semester of the academic year 2015 placed in two classrooms of 33 students each.  Using the method of cluster random sampling, the researcher selected two classrooms of students from an initial nine classrooms of students.  Lots were drawn to divide the 66 students into two groups. The experimental group consisted of 33 Matthayom Sueksa 5/3 students enrolled at Suksanaree Wittaya School who were taught by means of problem-based learning.The control group consisted of 33 Matthayom Sueksa 5/4 students instructed by traditional methods. The research instruments consisted of problem-based lesson plans based on the problem-solving approach of Melo and Lin; traditional method lesson plans; a test used to measure academic achievement in Social Studies, Religion and Culture; and an evaluation form concerning the  desirable characteristic of seeking knowledge. Findings are as follows: 1. The students taught by means of problem-based learning exhibited academic achievement in Social Studies, Religion and Culture at a higher level than those instructed by traditional methods at the statistically significant level of .01. 2. The students taught by means of problem-based learning evinced academic achievement in Social Studies, Religion and Culture after the completion of  study at a higher level than prior to its commencement at the statistically significant level of .01.3. The students taught with problem-based learning exhibited the desirable characteristic of seeking knowledge at a higher level as supported by the opinions of teachers and parents than those instructed by traditional methods at the statistically significant level of .01.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ