ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สมจินต์ ชาญกระบี่
นรินทร์ สังข์รักษา

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรี และความต้องการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรีของจังหวัดสุพรรณบุรีและ 3) เพื่อนำเสนอนโยบายในการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) ร่วมกับการวิจัยเชิงอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 14 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน เพื่อร่วมประเมินตรวจสอบความสำคัญและความเหมาะสม ของยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์และมาตรการดำเนินการ


          ผลการวิจัย  พบว่า (1) สภาพการณ์ด้านการท่องเที่ยวและความต้องการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสุพรรณบุรีมีศักยภาพที่ดี และมีความพร้อมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (2) ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่ามียุทธศาสตร์ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างรูปแบบในการพัฒนาวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในเชิงเศรษฐกิจจากฐานอัตลักษณ์สู่การเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยมีเป้าประสงค์ได้แก่ 1) การเพิ่มขึ้นของรายได้มวลรวมจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี 2)การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวซ้ำในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรีและ 3)เพิ่มความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมกลยุทธ์การตลาดในและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ได้แก่ 1) กระตุ้นตลาดให้ได้ตามเป้าหมายโดยมุ่งเน้นตลาดคุณภาพ 2) สร้างความร่วมมือจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 เชื่อมโยงการท่องเที่ยวภายในคลัสเตอร์ เพื่อเพิ่มระยะเวลาพำนัก ผ่านการยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวได้แก่ 1) เพิ่มระยะเวลาพำนักจากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพิ่มเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี 3)เพิ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรียุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา การท่องเที่ยวได้แก่ 1) พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวทั้งระบบให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด 2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว (3) ผลการนำเสนอยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรีที่ผ่านการรับรองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย


          The purposes of this research were: 1) to study situation and need of creative tourism for Suphanburi province; 2) to analyze the strategies creative tourism of Suphanburi province; and 3) to present policy on development of the strategies creative tourism of Suphanburi province. Methodology of this research were mixed policy research and Ethnographic Delphi Futures Research. The data were collected by in-depth interview from fourteen informants. Eighteen experts assessed the importance and appropriateness of  strategies, tactics, goals and procedures.  


          The results showed as followings: (1) situaition and need of creative tourism for Suphanburi province were potential and readiness to develop creative tourism, and (2) The first strategy created a model for the development of culture and economic wisdom based on identity to creative tourism. The first strategy consisted of three goals including 1) increase in gross income from creative tourism of Suphanburi province, 2) increase in the number of repeat visitors in creative tourism in Suphanburi province, and 3) increase in visitor satisfaction of creative tourism of Suphanburi province. The second strategy promoted domestic and foreign marketing strategies. The strategy focused on quality visitors comprising 1) encouragement the market to reach the target, focusing on quality market, and 2) collaboration with three sectors such as government, private and public. The third strategy linked tourism within the cluster to increase the duration of stay by enhancing tourism activities and linking tourism routes. The strategy included as follows: 1) increase the duration of stay from creative tourism of Suphanburi province, 2) increase the tourism routes link to creative tourism of Suphanburi province, and 3) increase the creative tourism entrepreneurs in Suphanburi. The fourth strategy developed tourism staff and supported public participation in tourism development comprising 1) development the capacity of tourism staff in the system to be competitive and sufficient to meet the needs of the market, 2) promotion public participation in tourism management and benefit from tourism. In addition, the results indicated that (3) the stakeholders certified the strategies creative tourism of Suphanburi province.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ