การเจรจาต่อรองสำหรับครู

Main Article Content

สุคนธ์ มณีรัตน์

Abstract

             ในชีวิตประจำวันของทุกคนย่อมเกี่ยวพันกับการเจรจารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่ตลอดเวลาเพราะมนุษย์เราต้องทีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันทั้งบุคคลที่ใกล้ชิดในครอบครัวที่ทำงานหรือสถานที่ต่างๆที่ ดังนั้นทักษะการเจรจาต่อรองจึงเป็นเรื่องบุคคลในสังคมควรให้ความสำคัญและศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะการเจรจาต่อรอง มีความสำคัญต่อครูในสถานศึกษา ซึ่งครูจำเป็นต้องมีทักษะในพูดการเจรจา วัตถุประสงค์ของบทความเพื่อ 1. เสนอแนวคิดทฤษฎีการเจรจาต่อรอง  2. เสนอรูปแบบการเจรจาต่อรอง  3. รูปแบบการเจรจาต่อรองสำหรับครู การเจรจาต่อรองเป็นกรณีที่บุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า  สมัครใจที่จะเจรจาในประเด็นที่เป็นข้อเสนอหรือข้อขัดแย้ง  เพื่อให้ได้ข้อยุติที่เป็นที่พอใจแก่ทุกฝ่าย มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองคือ ผู้เจรจาต่อรองจะต้องหาทางเลือกที่ดีที่สุดในข้อตกลงการเจรจาต่อรอง อะไรคือจุดที่ฝ่ายตนพึงพอใจน้อยที่สุดที่จะรับได้จากข้อยุติในการเจรจา อะไรคือพื้นที่ที่สามารถจะเจรจาตกลงกันได้ และหากมีการปรับจุดยืนของข้อเสนอ จะเป็นสร้างคุณค่าแก่ผู้เจรจาแต่ละฝ่ายอย่างไรบ้าง วิธีการศึกษา ผู้เขียนทำการสังเคราะห์เอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง รูปแบบการเจรจาต่อรองมี 2 รูปแบบ คือ การต่อรองแบบแข่งขัน ซึ่งแต่ละฝ่ายมุ่งจะเป็นฝ่ายได้ผลประโยชน์ กับ การเจรจาต่อรองแบบบูรณาการที่มุ่งให้แต่ละฝ่ายได้รับความพึงพอใจ ครูซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษาจะต้องเป็นบุคคลที่จำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรองในการพูดเจรจากับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน นักเรียนและผู้ปกครอง เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี การให้เกียรติผู้อื่น พูดจาสุภาพ มีความอ่อนน้อมถ่อม ใจกว้าง รู้จักรับฟังความเห็นผู้อื่นมีทักษะในการฟัง มีอารมณ์ที่มั่นคง


            In everyday life, everyone must always use some kinds of negotiation because we need to interact with people in the family, at work and at other places. So, the negotiation skill is necessary for everyone in the society to acknowledge and to learn it. Especially,  the  negotiation  is  very  important  to  teachers in  the  educational  institution who  need  to  have  the  negotiation skill.  The  objectives were  to  propose 1)  the  negotiation theory  2)  the  negotiation  types  and  3) the  negotiation  for  teachers Negotiation is between two or more sides to voluntarily discuss the offers and the conflicts to reach some agreement that satisfy all sides. The important on negotiation is that the negotiator must find the best alternative to a negotiated agreement ,  the negotiator  identify their least-satisfied condition within that solution, what other area can be further negotiated, and if the solution can be adjusted, what can be gain to each sides. The research  method was to  synthesize  the  negotiation  documents. There are two styles of negotiation, Distributive  a negotiation in which the  parties  compete over  the distribution  of  a  fixed  of  value  and  Integrative a negotiation in  which  the  parties  cooperate  to  achieve   maximum  benefits  by  integrating  their  interests  into  an  agreement.  Teachers which are education personal must learn and develop negotiation skills in order to negotiate with their  administrators, colleagues, students, and parents. Teachers must have good manner, respect others, polite, humble, generous, listen to others, and must not be emotional.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ