การศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุธี เพชรรัตนาภรณ์
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา   ของผู้บริหาร ครูผู้สอน ในโรงเรียนราชินีบูรณะ และ (2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของโรงเรียนราชินีบูรณะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 105 คน ผู้บริหารในโรงเรียนราชินีบูรณะ 5 ท่าน  ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี 5 ท่าน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของครูผู้สอนโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินความเหมาะสมแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า (1)ปัญหาและความต้องการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของผู้บริหาร ครูผู้สอนในโรงเรียนราชินีบูรณะ พบว่า ครูผู้สอนมีการใช้สื่อการสอนในระดับปานกลาง และสื่อการสอนที่ใช้ส่วนใหญ่  ได้แก่แบบเรียน เอกสารตำราและหนังสืออ่านประกอบของจริง ซึ่งในการผลิตสื่อการสอน พบว่าครูผู้สอนขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยมาแนะนำการผลิตสื่อการสอน ไม่มีเวลาในการผลิตและไม่สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการสอน  ในด้านความต้องการศูนย์สื่อการศึกษา พบว่าครูผู้สอนมีความต้องการสื่อการสอนในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความทันสมัยพร้อมใช้งาน พร้อมด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ (2) แนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและผู้เชี่ยวชาญ  พบว่าควรแบ่งเป็นศูนย์รวมเฉพาะอย่าง และควรมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี มาทำหน้าที่ในศูนย์สื่อการศึกษาของโรงเรียนราชินีบูรณะ ภายในศูนย์สื่อการศึกษาโรงเรียนราชินีบูรณะ ควรประกอบด้วยสื่อการสอนที่หลากหลายและสถานที่ตั้งของศูนย์สื่อสารการศึกษา ควรอยู่บริเวณอาคารที่เป็นศูนย์กลางของโรงเรียน รวมทั้งมีการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมของแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด  ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.86 , S.D = 0.12)


            The objectives of this research were 1) to survey problems and the requirements for establishing educational media center of administrators and teachers at Rachineeburana School. 2) To evaluate the suitableness of guidelines for educational media center. The samples were 105 teachers, 10 experts, 5 administrators and 5 technology experts at Rachineeburana School. The instruments used in the research were: the questionnaires for the samples, the interview form for experts and specialists in the field of the suitableness of guidelines for educational media center. The data were analyzed using frequency, percentage (%), mean () and standard deviation (S.D.).  


             The results of this research were as followings: 1) According to the problems and the requirements for establishing educational media center of administrators and teachers at Rachineeburana School, it was found that teachers used teaching aids at medium level. The majority of teaching aids were textbooks, handouts and books with authentic materials. There were not any technological experts to suggest creating teaching aids. Teachers did not have time and the teaching materials are not able to provide sufficiently. In accordance with the teaching aids requirements, teachers needed the teaching aids at high level specifically modern computers, efficient Wi-Fi hotspots and electronic mails 2) According to guidelines for educational media center; the suitability of the educational media center was evaluated by the specialists. The educational media center should be divided into Centralized Media Center. There should be expert technological personnel to perform a service at the educational media center at Rachineeburana School. Moreover, the teaching aids should be various. The educational media center should be at the center of school. The surroundings and the environment should be encouraged learning. The evaluation of guidelines of establishing educational media center was found at high level ( = 4.86, S.D = 0.12)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ