การส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ ของนิสิตครูด้วยการศึกษาผ่านบทเรียน

Main Article Content

กัญญารัตน์ โคจร

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาผลการใช้การศึกษาผ่านบทเรียนในกระบวนการเรียนรู้ของนิสิตครู โดยพิจารณาจาก 1) การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตครูระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามแนวทางทางการศึกษาผ่านบทเรียน และ 2) การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนิสิตครูที่เรียนตามแนวทางทางการศึกษาผ่านบทเรียน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 42 คน จากหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ปีการศึกษา 2558 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางการใช้การศึกษาบทเรียนเป็นกระบวนการเรียนรู้ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดการแก้ปัญหาแบบร่วมมือและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


               จากผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตครูมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่าด้านความสามารถในการอ้างอิง ด้านความสามารถในการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ด้านความสามารถในการนิรนัย ด้านความสามารถในการตีความ นิสิตมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีเพียงด้านความสามารถในการประเมินข้อโต้แย้งที่ไม่มีความแตกต่างกัน โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าการศึกษาผ่านบทเรียนทำให้นิสิตได้เรียนรู้องค์ความรู้ของรายวิชาควบคู่กับการฝึกคิดและได้ประสบการณ์ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการฝึก นอกจากนี้พบว่า 2) นิสิตที่เรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาผ่านบทเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมืออยู่ในระดับดีมาก


 


              The purposes of this research were to study the effect of using lesson study guideline as a learning process on pre-service teacher by considering in 1) comparing the students’ critical thinking ability between before and after learning with lesson study guideline, 2) studying the collaborative problem solving ability of a students who learned with the lesson study guideline. The participants were the fourth year pre-service teacher of the Education Program in General Science of 2015 academic year, faculty of Education, Mahasarakham University which selected by using the purposive sampling technique.The research instruments were a lesson study guideline, a critical thinking ability test, a collaborative problem solving ability test, and a semi-structured interview. The data were analyzed by using the standard deviation, mean and t-test for dependent samples. Moreover, the qualitative data was carried out by using content analysis. The results of using lesson study guideline as a learning process on pre-service teacher showed that;


             The result showed that ; 1)  after learning by using the lesson study guideline the critical thinking ability mean score of pre-service teachers was higher than before learning with a statistically significance at .05. Considering in each aspect of critical thinking ability; there were higher scores than before learning through lesson study guideline with a statistically significance at .05 in the aspect of inferences, recognition of assumptions, deduction, and interpretation.  There was only aspect of evaluation of arguments that showed no difference between before and after learning with lesson study guideline. The data from interviewing indicated that in the lesson study process, the pre-service teacher have learned the core concept while practiced critical thinking ability through designing the learning activity. Moreover, 2) the collaborative problem solving ability of pre-service teachers were in the very high level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ