พหุมิติภาวะผู้นำของพี่เลี้ยงทางวิชาการนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

นภาเดช บุญเชิดชู
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย
โยธิน ศรีโสภา

Abstract

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาวะผู้นำของพี่เลี้ยงทางวิชาการของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในลักษณะพหุมิติ (multi leadership perspectives) ตามบทบาทของพี่เลี้ยงทางวิชาการในรูปแบบของผู้ฝึกหัด รูปแบบของความชำนาญการ และรูปแบบการสะท้อนกลับ ร่วมกับบทบาทการวางแผนการใช้กระบวนการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ บทบาทการให้คำแนะนำการสอนทั้งในด้านการวางแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการสะท้อนผลการสอน บทบาทการเป็นผู้ชี้แนะในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น บทบาทการเป็นผู้สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ความรู้สึก บทบาทการสะท้อนผลการพัฒนาตนเอง บทบาทการพัฒนาความสามารถที่ติดตัวไปตลอดให้กับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ บทบาทการเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานครู บทบาทการมีส่วนร่วมระหว่างอาจารย์นิเทศก์และอาจารย์พี่เลี้ยงในการพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครู บทบาทการยอมรับ การเคารพในศักยภาพ และไว้วางใจกันระหว่างพี่เลี้ยงทางวิชาการ พี่เลี้ยงทางวิชาการกับนักศึกษาวิชาชีพครู บทบาทการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาวิชาชีพครู การชี้แนะหนุนนำอย่างต่อเนื่อง และบทบาทการอำนวยความสะดวกนักศึกษาวิชาชีพครูในการปฏิบัติงาน


             ภาวะผู้นำของพี่เลี้ยงทางวิชาการเชิงพหุมิติ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำในลักษณะเฉพาะวิชาชีพทางการศึกษา ได้แก่ ภาวะผู้นำการเรียนการสอน (instructional leadership) ภาวะผู้นำทั่วไปในลักษณะที่บูรณาการมิติของภาวะผู้นำแบบต่าง ๆ (integrative leadership) ในการมีอิทธิผล การเป็นแบบอย่าง และสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประกอบด้วย มิติภาวะผู้นำเชิงคุณลักษณะนิสัย (trait perspective) มิติภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม (behavioral perspective) มิติภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ (situational perspective) และมิติภาวะผู้นำเชิงการเปลี่ยนแปลง (transformational leadership)


            การพัฒนาภาวะผู้นำของพี่เลี้ยงทางวิชาการมีลักษณะเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะ (skill-based programs) เน้นการพัฒนาความสามารถ (ability) และทักษะการปฏิบัติ (techniques) วิธีการพัฒนาได้แก่ การบรรยาย กรณีศึกษา แสดงบทบาทสมมติ การพัฒนาผ่านพฤติกรรมของต้นแบบ การกระตุ้นเร้าให้เกิดพฤติกรรมโดยการแลกเปลี่ยนความความรู้ ความคิดและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการที่ประสบความสำเร็จในโรงเรียน


 


              The objective of this article is to present multi perspectives of mentor leadership’s student teachers practicum through the role of mentors in the form of trainer; expert; and reflector, with the role of mentor in each aspects; Creating mentoring plan through discussions with pre-service teachers; Employing the built model as a framework for teaching guidance; Guiding interpersonal interactions; Giving emotional supports; Encouraging reflections on internship experiences; Fostering career competitive ability; Being a good role model for teachership; Participating with the teacher supervisors and mentors for student teachers development; Acceptance, respect for potential and trust among mentors, mentors and student teachers; Motivating, advising and supporting student teachers continuously; and Facilitating student teachers in practice.


             Multi perspectives of mentor leadership consist of Leadership in specific educational profession: Instructional leadership, and general Leadership such as Integrative leadership which combine influence modeling and motivation for teacher students practicum transforming consist of trait perspective; behavioral leadership perspective; situational leadership perspective and transformational leadership perspective.


             Mentor’s Leadership development process needs to be a skill-based program, focusing on the ability and skill development. The development methods include lecture, case study, role play. prototype behavior of modeling. Knowledge, thought, and experience sharing. For leading to successful mentor’ roles in the school.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ