ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองและความสามารถในการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา

Main Article Content

จิราธร โหมดสุวรรณ
จันทนา แสนสุข

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความก้าวหน้าในอาชีพ ปัจจัยความต้องการพัฒนาตนเอง และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความก้าวหน้าในอาชีพที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4) เพื่อศึกษาปัจจัยความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรครู ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 208 คน โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นต่อความก้าวหน้าในอาชีพ ภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ การวางแผนอาชีพงาน การพัฒนาอาชีพงาน และความสำเร็จของงานอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อความต้องการพัฒนาตนเอง และความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่ต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีรายได้ต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าความก้าวหน้าในอาชีพ ได้แก่ ความสำเร็จของงานส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเอง ส่วนการวางแผนอาชีพและการพัฒนาอาชีพงานไม่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเอง และความต้องการพัฒนาตนเองส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค


          The purposes of this research were: 1) to study the self-development factors and adversity quotient. 2) to compare the self-development of teachers under Non-formal and Informal education centre (NFE) in Chao Phraya river group according to personal factors. 3) to study the career advancement factors affecting the self-development of teachers under Non-formal and Informal Education centre (NFE) in Chao Phraya river group. 4) to study the self-development factors of teachers under Non-formal and Informal Education centre (NFE) in Chao Phraya river group affecting the adversity quotient. The samples in this study were 208 teachers under Non-formal and Informal Education centre (NFE) in Chao Phraya river group. The data were analyzed using frequency, mean, percentage, standard deviation, T-test, One-way ANOVA and Multiple Regression Analysis.


          The results found that the opinions level toward the career advancement in overall and each aspect of career planning, career development and career success were at a high level. The opinions level toward the self-development and adversity quotient in overall were at a high level. The result of hypothesis test of characteristics of teachers under Non-formal and Informal Education centre (NFE) in Chao Phraya river group found that the different personal monthly income was different in self- development. The different gender, age, education level and job duties were not different in self-development. The career advancement such as career success was influenced to self-development however career planning and career development were not influenced to self-development. In addition the self-development was influenced to the adversity quotient.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ