การจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือ (collaborative governance) : แนวคิด วรรณกรรมคัดสรร และคำสำคัญ

Main Article Content

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายวรรณกรรมคัดสรรและคำสำคัญของแนวคิดการจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวคิดด้านการบริหารกิจการสาธารณะที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยบทความนี้นำเสนอมุมมองพื้นฐานของแนวคิดที่ว่า ความร่วมมือระหว่างองค์การเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของการบริการสาธารณะที่แวดล้อมไปด้วยปัญหาที่สลับซับซ้อน ดังนั้น การบริหารกิจการสาธารณะจึงจำเป็นต้องจัดการการประสานความร่วมมือที่ดำรงอยู่ เพื่อให้การบริการสาธารณะตอบโจทย์ความความต้องการและการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น นอกจากนี้ บทความได้นำเสนอนิยามของคำสำคัญอันได้แก่ การประสานความร่วมมือ การจัดการการประสานความร่วมมือสาธารณะ การจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือ ประโยชน์จากการประสานความร่วมมือ และผู้จัดการการประสานความร่วมมือ และในช่วงท้ายของบทความได้อธิบายถึงลักษณะ ประเภท องค์ประกอบ กระบวนการ และกิจกรรมการประสานความร่วมมือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำความเข้าใจแนวคิดการจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือได้


          This article aims to discuss collaborative governance approach and its selected literature and key definitions. As a common ground of the approach, this article summarizes that, at present, collaboration is inevitable for public services which involve wicked problems. Therefore, public administration needs to manage existing collaboration in attempt to enhance efficiency and effectiveness of public services. Besides, this article elaborates five key definitions including: collaboration, collaborative public management, collaborative governance and collaborative manager. Lastly, it discusses characteristics, types, configuration, process and activities of collaboration which are essential for understanding collaborative governance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ