การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด

Main Article Content

ชลธิดา หงษ์เหม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ห้อง 2 โรงเรียนคงคาราม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด  2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้   วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t –test dependent)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิดสูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก


          The purpose of pre - experimental designs were to 1) compare analytical reading ability of mathayomsuksa II students before and after learning by using SQ4R method and Mind – Mapping technique.  2) investigate the opinions of mathayomsuksa II students towards learning by using SQ4R method and Mind – Mapping technique. The sample of this research were 45 mathayomsuksa 2/2 students of Kongkaram school, Muang Phetchaburi, Phetchaburi province in the first semester of the academic year 2017.The research instruments were lesson plans, the test of analytical reading ability, and questionnaires on student’ opinions towards learning by using SQ4R method and Mind – Mapping technique. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for dependent.


            The results of this research were concluded as follow, 1. Analytical reading ability of mathayomsuksa II students after learning by using SQ4R method and Mind – Mapping technique was significantly higher than before at the .05 level. 2. The opinions of mathayomsuksa II students towards learning by using SQ4R method and Mind – Mapping technique  were at high agreement level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ