การพัฒนาแบบจำลองโซ่คุณค่าและการวัดสมรรถนะด้วยมุมมองอุปสงค์และอุปทาน ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ สงวนศิลป์
อังกูร ลาภธเนศ

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลจากการจัดการโซ่อุปทาน การจัดการโซ่อุปสงค์ และการจัดการโซ่คุณค่าที่มีอิทธิพลต่อการวัดสมรรถนะการจัดการโซ่คุณค่า และเพื่อพัฒนาแบบจำลองสำหรับใช้วัดสมรรถนะโซ่คุณค่า จากมุมมองอุปสงค์และอุปทานจากมุมมองอุปสงค์และอุปทานในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำ โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์การถดถอย กลุ่มตัวอย่างคือ โรงงานและผู้ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารจากสัตว์น้ำในจังหวัดชุมพร จำนวน 174 ตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาแบบจำลองและการวัดสมรรถนะโซ่คุณค่า มี 5 ด้าน คือ การตอบสนองต่อความแปรปรวนของปริมาณ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.84, การผลิตที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.81, การทำงานร่วมกันเพื่อความคล่องตัว มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.78, คุณภาพและราคาที่ถูกกว่าสำหรับการจัดส่ง มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.78 และต้นทุนในการตอบสนองความ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.75 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่า r = 0.138, CMIN/df = 1.194,      CFI = 0.996, GFI = 0.945, RMSEA = 0.033 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (2) ตัวแปรจากการจัดการโซ่อุปทาน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสมรรถนะโซ่คุณค่า เท่ากับ 0.249,  ตัวแปรจากการจัดการโซ่อุปทาน มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อการจัดการโซ่คุณค่า เท่ากับ 0.266, ตัวแปรจากการจัดการโซ่อุปสงค์ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสมรรถนะโซ่คุณค่า เท่ากับ 0.581 และตัวแปรจากการจัดการโซ่คุณค่า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสมรรถนะโซ่คุณค่า โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.167


          This study aimed to investigate the influence of the supply chain, demand chain management, value chain management and performance measurement to influence the value chain performance and develop a model for value chain performance measurement base on supply and demand chain perspective. The study samples consisted of 174 Food Processing Industries Aquatic Animal in Chumphon Province. A questionnaire was applied. Descriptive statistics including Structural Equation Modelling (SEM) by AMOS were applied for data analysis. The research findings were as follows: (1) there is 5factors for measurement is Respond to Variance of volume (RV) Standardized Regression Weights 0.84, Quality and Standard (QS) Standardized Regression Weights 0.81, Collaboration for Agility (CA) Standardized Regression Weights 0.78, Cost lower price and Quality of Delivery (CQD) Standardized Regression Weights 0.78 and Cost of Demand (CD) Standardized Regression Weights 0.75 is fit to empirical data with r = 0.138, CMIN/df = 1.194, CFI = 0.996, GFI = 0.945, RMSEA = 0.033 significant at .01 level (2-tailed) and (2) the results of data analysis showed that the factor of SCM have direct effect on VCOR the effect coefficient of  0.249, SCM have indirect effect on VCOR the effect coefficient of  0.266, DCM have direct effect on VCOR the effect coefficient of  0.581 and VCM have direct effect on VCOR the effect coefficient of  0.167.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ