การศึกษาและพัฒนาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยกรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อม

Main Article Content

สุกฤตา หิรัณยชววลิต

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อมสำหรับผู้สูงวัย เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับผู้สูงวัย โดยเลือกศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อม  มีประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-69 ปี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ถึง 59 ปี และกลุ่มผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ถึง 69 มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใช้วิธีการถามตอบ และการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จนนำมาสู่ผลของงานวิจัย ได้ดังนี้   


  1. ปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้บรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อมที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าหรือร้านขายยาทั่วไป คือ กล่องบรรจุภัณฑ์บางกล่องมีขนาดเล็กเกินไปและใหญ่เกินไปทำให้จับไม่ถนัด ฝากล่องมีการเปิดปิดยาก หลังจากมีการเปิดใช้หลายครั้งทำให้ฝากล่องงอจึงปิดไม่สนิทเหมือนครั้งแรกที่ใช้ ชื่อผลิตภัณฑ์อ่านยากส่งผลให้ยากต่อการจดจำเวลาไปซื้อครั้งต่อไป ตัวอักษรที่เป็นข้อมูลของผลิตภัณฑ์เล็กเกินไป มีการแสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ของตัวอักษรที่มีการลดความกว้างของตัวอักษรลง ทำให้อ่านยาก

  2. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการป้องกันและรักษาอาการข้อเสื่อม
    ที่ช่วยเอื้อให้สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองได้ คือ บรรจุภัณฑ์ต้องเปิดปิดใช้ง่าย ต้องเปิดและปิดใช้ซ้ำๆ ได้ โดยที่ฝากล่องไม่หักงอ และไม่เสียรูปทรง บรรจุภัณฑ์ควรมีขนาดที่กระชับมือ และจับได้ถนัด ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ควรใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ที่สั้นและอ่านง่าย ควรใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย ขนาดใหญ่ สามารถอ่านได้ชัดเจน

  3. การเปิดปิดบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ควรเป็นแบบ Flip top box และผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-69 ปี ควรเป็นแบบ Slide

  4. สีที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ควรใช้สีแบบเอกรงค์ บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ควรเป็นสีโทนเย็นที่สว่าง เช่น สีฟ้าและสีเขียว และสีของบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-69 ปี ควรเป็นสีที่สีโทนร้อนที่สว่าง เช่น สีเหลือง และสีส้ม
    1. แบบของตัวอักษรที่เหมาะสมและง่ายต่อการอ่านของผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-69 ปี ควรเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบไม่มีฐาน และตัวอักษรภาษาไทยแบบหัวตัด

    2. ขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี คือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษบนพื้นสีขาว ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาวบนพื้นสีเข้ม ตัวอักษรภาษาไทยบนพื้นสีขาว และตัวอักษรภาษาไทยสีขาวบนพื้นสีเข้ม ควรมีขนาดเล็กสุด 18 pt และขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-69 ปี ควรมีขนาดเล็กสุด 20 pt ถึงจะยังสามารถอ่านได้

    3. ความต่างของสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังที่เหมาะสมกับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50-69 ปี คือ สีตัวอักษรกับสีพื้นหลังควรต่างกันอย่างน้อย 70% ถึงจะยังสามารถอ่านได้  โดยตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีดำและตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีเข้มที่อ่านได้ง่ายและชัดเจนที่สุด รองลงมาคือ ตัวอักษรสีดำบนพื้นหลังสีขาวและตัวอักษรสีเข้มบนพื้นหลังสีขาว รองลงมาอีกคือ ตัวอักษรสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน ส่วนสีตัวอักษรกับสีพื้นที่ยังอ่านได้ง่ายและชัดเจนน้อยที่สุคือ ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นหลังสีดำและตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นหลังสีเข้ม                                                                                                                                                                     The purpose of this research was to examine problems and issues associated with design of packaging of supplementary products for preventing Osteoarthritis in elderly in order to develop guidelines for designing packaging suitable for the elderly. The research focused on supplementary products for preventing Osteoarthritis.               The research population was 50-69 aged elderly comprising two groups namely 50-59 years and 60-69 years. The in-depth interview The in-depth interview and questionnaire was applied for gathering data. was applied for gathering data. The findings revealed that:    

    4.             1. Problems or obstacles on using packaging of supplementary products available in supermarkets or drugstores are that some boxes too small or too big, not handily and the cover opening is difficult. After several uses, the covers are bended and it’s unable to tightly close compared to the first use. The product name is difficult to remember for next purchasing. The fonts of product details are too small and font width is condensed so it is more difficult for reading.  The features of packaging of supplement products for preventing Osteoarthritis suitable for self-use are that easy-open packaging; frequently use without bended cover and deform; handily packaging and proper size; product name short and easy to read; and font sizes are bigger and more visible.

    5. Opening packaging for elderly aged between 50 and 59 years should be flip top box and aged between 60 and 69 years should be slide.

    6. The colors for packaging should be monochrome. The packaging for elderly aged between 50 and 50 years should be light cool colors, for example, green and blue. And, the packaging for elderly aged between 60 and 69 years should be light warm colors, for instance, yellow and orange.

    7. Appropriate fonts and easy-to-read for the elderly aged between 50 and 50 years should be English fonts without base and Thai fonts with cut head.

    8. Fonts suitable for the elderly aged between 50 and 59 years are that English fonts on white background, white English fonts on dark-color background, Thai fonts on white background and white Thai fonts on dark-color background. Also, the smallest font size should not less than 18 points. The font size appropriate for the elderly aged between 60 and 69 years should not smaller than 20 points.

    9. The difference between font colors and background colors appropriate for the elderly aged between 50 and 69 years should be at least 70%. The most clear and readable colors are white font on black background and white font on dark background, followed by black font on white background and dark-color font on white background and dark font on light background, respectively. Meanwhile, the font colors and background colors with least visibility and easy-to-read are light-color font on black background and light-color font on dark-color background.


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ