ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง
นัทธมน มั่งสูงเนิน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้อยู่ภายใต้แบบจำลองทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (Unified Theory of Acceptance and Use of Technology: UTAUT) ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ใช้งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 146 คน ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และแบบเอกสาร ทดสอบความเที่ยงของแต่ละตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนแบค นำผลมาวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน และการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน นอกจากนี้ความตั้งใจที่จะใช้ยังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง ขณะที่ปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีไม่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งานบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญ


            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ให้แนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูล กำหนดนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ และนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการที่จะทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะปัจจัยด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ อิทธิพลทางสังคม  และการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสุขภาพมาใช้เพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และเพื่อพัฒนารูปแบบ


          The purpose of this research was to investigate the key factors influencing elderly users’ intention to use and adopt mobile health services. This research is based on the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT). The sample used in this research is a group of the elderly people who have used a mobile health service 146 samples in Bangkok. A paper and online survey were administrated, and data were collected to test the reliability of each variable with coefficient alpha. The data were analyzed through statistic methods such as frequency, percentage and test the hypothesis by using the simple and multiple regression analysis. Results showed that the performance expectancy factor and social influence factor had a significant positive impact on the users’ behavioral intention to adopt mobile health services. And resistance to change factor had a significant negative impact on the users’ behavioral intention to adopt mobile health services. The study, however, revealed no significant relation between the effort expectancy factor and technology anxiety factor and the users’ behavioral intention to use the mobile health services.


                  This study provides useful guidelines to those who are in the mobile health service business whether mobile health service developers, mobile health service providers and policy makers. In order to understand the factors that affects the intention to use and adopt mobile health services especially performance expectancy, social influence, and resistance to change and lead to the consideration of business approach to use information and communication technology for health increased the quality and efficiency of medical and health services and to develop mobile health services with proper functions properly for the elderly and used as a guideline for encourage the usage of information and communication technology (ICT) in elderly people.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ