การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ ของ Kolb โดยยึดรูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI

Main Article Content

ธิดารัตน์ คำแพง
ดร.กัญญารัตน์ โคจร
ดร.สุจินต์ อังกุราวิรุทธ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ Kolb โดยยึดรูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/14 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนผดุงนารี จำนวน 33 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งดำเนินการตามวงจรปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติการ ประกอบด้วย วงจรปฏิบัติการที่ 1 เรื่อง การเกิดปฏิกิริยาเคมี สมการเคมีและชนิดของปฏิกิริยาเคมี วงจรปฏิบัติการที่ 2 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี วงจรปฏิบัติการที่ 3 เรื่อง ไขมัน และน้ำมัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ Kolb โดยยึดรูปแบบวงจรการเรียนรู้ TSOI เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีและสารชีวโมเลกุล จำนวน 5 แผนการจัดการเรียนรู้   2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์แบบปรนัยพร้อมอธิบายเหตุผลเพิ่มเติม เรื่อง ปฏิกิริยาเคมีและสารชีวโมเลกุล จำนวน 7 ข้อ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย


          ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม ในวงจรปฏิบัติการที่ 3  และเมื่อพิจารณาในแต่ละวงจรปฏิบัติการ พบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TSOI พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 75.76


              วงจรปฏิบัติการที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TSOI โดยเน้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ใช้ภาพนิ่งและวีดิโอเป็นสื่อประกอบการสอนมากขึ้น และอธิบายเทคนิคในการเขียนสรุปความ พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 84.85


              วงจรปฏิบัติการที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ TSOI โดยเน้นการแก้ปัญหาด้านการเขียนสรุปความของผู้เรียน โดยอธิบายเทคนิคในการเขียนสรุปความ ยกตัวอย่างการเขียนสรุปความที่ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ และให้นักเรียนทำแบบฝึกการเขียนสรุปความจนเกิดความชำนาญ พบว่า นักเรียนทุกคนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นร้อยละ 100


          The purpose of this research was to improve the conceptual understanding of grade 10 students according to Kolb’s learning theory and TSOI learning cycle model, in order to pass 70% of full scores. The target group was 33 grade 10 students of classroom 14 in Phadungnaree School, Thailand, in the first semester of the academic year 2016. The purposive sampling was used to select the target group. Action research was conducted in this research which were 3 cycles as follows: the first cycle consisted of process of chemical reaction, chemical equation and types of chemical reaction, the second cycle consisted of reaction rate and factors that affect rate of reaction, and the third cycle consisted of fat and oil. The research instruments were: 1) five lesson plans about chemical reactions and biomolecules regarding Kolb’s learning theory and using TSOI learning cycle model 2) the multiple choice test with rationale explanation containing five questions on chemical reactions and two questions on biomolecules and 3) semi-structured interview. The collected data were analyzed by using percentage and mean.


               The results showed that all of the students had a conceptual understanding score over 70% of full scores in the third action cycle. When considering each action cycle, it was found as follows: In the first cycle, the students studied using TSOI learning cycle model. It was found that 25 students passed the criterion 70% of full scores (75.76%).


               In the second cycle, the students studied using TSOI learning cycle model and focused on the participation in doing experiments. The researcher provided pictures, simulators and videos as learning media in the classroom, and explained the techniques of summary writing. It was found that 28 students passed the criterion 70% of full scores (84.85%).


               In the third cycle, the students studied using TSOI learning cycle model and focused on a summary writing. The researcher explained the techniques of summary writing and showed examples of correct and complete summary writing. Moreover, the researcher assigned exercises to the students until they had expertise in summary writing. At the end of this cycle, it was found that all of the students passed the criterion 70% of full scores (100%).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ